การบริหารจัดการเรียนรู้บนฐานวิถีใหม่ ด้วยรูปแบบ COVID Model
ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้บนฐานวิถีใหม่ ด้วยรูปแบบ COVID Model ของโรงเรียนอนุบาลกระบี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน สภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้บนฐานวิถีใหม่ ด้วยรูปแบบ COVID Model โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x-bar=3.91, S.D.=.798) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัด
การเรียนการสอน มีสภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar =4.56, S.D.=.842) รองลงมา ได้แก่ ด้านการพัฒนาครู ( x-bar=3.90, S.D.=.769) ด้านการรับฟังเสียงสะท้อนจากครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา ( x-bar=3.86, S.D.=.731) ด้านการประเมินผลในการศึกษาแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ ( x-bar=3.75, S.D.=.822) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรใหม่ตามลำดับ ( x-bar=3.72, S.D.=.824) และด้านการบริหารหลักสูตร อยู่ในระดับน้อยที่สุด ( x-bar=3.68, S.D.=.803) ตามลําดับ และพบว่าปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้บนฐานวิถีใหม่ ด้วยรูปแบบ COVID Model ของโรงเรียนอนุบาลกระบี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
โดยรวมมีปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x-bar= 3.79, S.D.=.827)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการบริหารจัดการทรัพยากรใหม่ตามลำดับ มีปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar=3.97, S.D.=.848) รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารหลักสูตร ( x-bar=3.94, S.D.=.768) ด้านการประเมินผลในการศึกษาแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ ( x-bar=3.87, S.D.=.724) ด้านการรับฟังเสียงสะท้อนจากครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา ( x-bar=3.76, S.D.=.876) ด้านการจัดการเรียนการสอน (x-bar =3.66, SD=.785) และด้านการพัฒนาครู มีปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับน้อยที่สุด ( x-bar=3.54, SD=.960) ตามลำดับ
สำหรับแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ พบว่า การบริหารหลักสูตรควรมีการออกแบบโครงสร้างหลักสูตร โดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียนและบริบทของโรงเรียน การประเมินผลในการศึกษา แบบฐานวิถีชีวิตใหม่ เปลี่ยนจาก“การประเมินผลการเรียน” ไปสู่ “การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้”โดยใช้วิธีการที่หลากหลายและนำผลไปต่อยอดการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนการจัดการเรียนการสอน ควรพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสนุกกับการเรียนรู้และอยู่อย่างปลอดภัย การบริหารจัดการทรัพยากรใหม่ตามลำดับ ควรสนับสนุนงบประมาณด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี พัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับการพัฒนาครูควรจัดอบรม ผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในการพัฒนานักเรียน และการรับฟังเสียงสะท้อนควรเปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน เสนอความคิดเห็นดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คำสำคัญ : การเรียนรู้บนฐานวิถีใหม่, รูปแบบ COVID Model