เผยแพร่ผลงาน
2019 (Covid-19) ของโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี
ผู้รายงาน นางสาวสุภารัตน์ อึ้งถาวรดี รองผู้อำนวยการโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาลพบุรี
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี โดยใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 297 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ,6 และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ,6 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามการประเมินโครงการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี 2) แบบสอบถาม ความพึงพอใจโครงการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1. ผลการประเมินโครงการ พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนักเรียนและ
ผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อการประเมินโครงการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านผลผลิต ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ
1.1 ด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด คือ โครงการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา มีความสอดคล้องกับนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรีและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆตามความพร้อมของครู นักเรียนและผู้ปกครอง ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความต้องการของหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
1.2 ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก คือ ครูและนักเรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูมีสื่อการเรียนการสอนที่จัดขึ้นและสอดคล้องกับบริบทของนักเรียน ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงาน การส่งงานที่ครูมอบหมายผ่านสื่อออนไลน์
1.3 ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก คือ โรงเรียนมีเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการจัดทำโครงการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนโคกสำโรงวิทยา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ โรงเรียนมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Covid-19) ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสมสำหรับจัดทำโครงการ
1.4 ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก คือ ครูทำรายงานผลการจัดการเรียนรู้ทุกสัปดาห์อยู่ ในระดับมาก รองลงมา คือ ครูทุกคนสามารถจัดทำเอกสาร ใบความรู้ ใบงาน และสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้บริหารและครูมีการกำกับ ติดตามการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. ผลการประเมินความพึงพอใจของครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงเรียน โคกสำโรงวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ทำให้นักเรียนได้อยู่ใกล้ชิดผู้ปกครองมากขึ้น การจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรงเรียนอำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้หลายช่อง การติดต่อสื่อสาร