รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
ผู้รายงาน นายศรัญญู สาริการนนท์ รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา 2564
_________________________________________________________________________
บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนบ้านสันโค้ง(เชียงรายจรูญราษฎร์) อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการ แบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต 5) เพื่อประเมินผลการยอมรับโครงการ ด้านความพึงพอใจ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) ครูและครูบรรณารักษ์ จำนวน 35 คน 2) ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 65 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 384 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น 498 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือหาค่าความสอดคล้อง (IOC) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการประเมินโครงการ พบว่า
1.ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการ โดยการประเมิน 3 ตัวชี้วัด พบว่า โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้
ความเป็นไปได้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความเหมาะสมของ การจัดกิจกรรม ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของโครงการ ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด
2.ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่าโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้
ความพร้อมของบุคลากร ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความเหมาะสมของสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ผ่านการประเมินระดับมากและความพร้อมของงบประมาณ ผ่านการประเมินระดับมาก
3.ผลการประเมินประเด็นกระบวนการดำเนินงานของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่าโดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้ การวางแผน ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด การปรับปรุงพัฒนา ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด และการดำเนินงาน ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด
4.ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่าโดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้ ผลการประเมินทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ ผ่านการประเมินระดับมาก การนำความรู้และทักษะด้านการอ่านไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ผ่านการประเมินระดับมาก คุณลักษณะนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียนผ่านการประเมินระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านการประเมินระดับปานกลาง