รายงานการพัฒนาความสามารถด้านการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยใช้ชุดฝึกอบรม
เรื่อง การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ร่วมกับการนิเทศแบบชี้แนะ
ผู้รายงาน นางสาวกาญจนา ประวรรณรัมย์
ปีที่พิมพ์ 2565
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ ชุดฝึกอบรม เรื่อง การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อชุดฝึกอบรม เรื่อง การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ประชากร ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 3,423 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 65 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือก ดังนี้ 1) เป็นครูผู้สอนที่มีความสมัครใจเข้ารับการพัฒนา 2) เป็นครูผู้สอนที่มีเวลาเพียงพอในการเข้ารับการอบรมพัฒนาได้ครบตามหลักสูตร 3) เป็นครูผู้สอนที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองในเรื่องของการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดฝึกอบรม เรื่อง การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาและการนิเทศแบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1) ชุดฝึกอบรม เรื่อง การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา มีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 77.43/82.26
2) ความสามารถด้านการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนของครูหลังใช้ชุดฝึกอบรม เรื่อง การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา ด้านความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านเจตคติและด้านพฤติกรรมการปฏิบัติในการวัดและประเมินระดับชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
3) ครูมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรม เรื่อง การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาและการนิเทศแบบชี้แนะ อยู่ในระดับมากที่สุด