รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิ
ผู้รายงาน นางสาวศิรินภา ทองคำแท้
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔
ปีการศึกษา 2564
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามรูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดล (CIPP MODEL) ใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) 2. เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ ปีการศึกษา 2564
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 63 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 313 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan และการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive or Judgement Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมิน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ตามวิธีของ Likert Scale จำนวน 2 ฉบับ คือแบบประเมินโครงการและแบบประเมินความพึงพอใจ สติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการพัฒนาระบบระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของโรงเรียนบดินทร เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) พบว่าในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้รับผิดชอบมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินการระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การระดมทรัพยากรของโรงเรียน ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และการระดมทรัพยากรของโรงเรียน สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายของการพัฒนาการศึกษา ตามลำดับ
2. การประเมินโครงการพัฒนาระบบระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของโรงเรียนบดินทร เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่าในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนมีการประชุม ชี้แจง บทบาทหน้าที่และรูปแบบการดำเนินการระดมทรัพยากรที่ชัดเจน มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาใช้ในการดำเนินการระดมทรัพยากร เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว และโรงเรียนจัดทำคู่มือการดำเนินการระดมทรัพยากร เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครูในการดำเนินงาน ตามลำดับ
3. การประเมินโครงการพัฒนาระบบระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของโรงเรียนบดินทร เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่าในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ วิธีการดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนมีการประชุม ขั้นตอนการดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจ และโรงเรียนมีช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ปกครอง ที่สะดวกและรวดเร็ว ตามลำดับ
4. การประเมินโครงการพัฒนาระบบระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของโรงเรียนบดินทร เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่าในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนนำเงินจากการระดมทรัพยากรไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนมีการรายงานสรุปข้อมูลการดำเนินการระดมทรัพยากรให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบด้วยการสื่อสารวิธีต่าง ๆ และผลการดำเนินการระดมทรัพยากร บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามลำดับ
5. ระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ ปีการศึกษา 2564 พบว่าในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความเหมาะสมของการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนางานระดมทรัพยากร มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินการระดมทรัพยากร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้กับผู้ปกครองรับทราบ และโรงเรียนมีช่องทาง การติดต่อสื่อสาร เพื่อแก้ปัญหา ให้ความช่วยเหลือกับผู้ปกครองที่สะดวกและรวดเร็วตามลำดับ