อัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนสกลวิสุทธิ
The Identity of community participation in educational management of Sakolwisuth School.
นายวชิระ อาจเอื้อม
Mr. Vajira Artuem
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ และ 4) หาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ ซึ่งการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลโดยการจัดประชาคม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์ และระยะที่ 2 เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และตัวแทนประชาชนจากชุมชน จำนวน 120 คน
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกล วิสุทธิ พบว่า โดยภาพรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษาในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับดีมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาโดยภาพรวมและจำแนกรายด้ายอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล 3) ปัญหาและอุปสรรคที่พบมากที่สุดในแต่ละด้านและแนวทางแก้ไข เรียงตามลำดับความถี่ 3 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านการบริหารบุคลากร(2) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านงบประมาณ และ (3) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านวิชาการ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ 3 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารเกี่ยวกับข่าวสารและข้อมูลของโรงเรียน และแจกผ่านมาทางนักเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองทราบ (2) ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการบริหารงานให้ผู้ปกครองรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียน และ (3) ให้ชุมชนมีส่วนรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ
4) อัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลเป็นอันดับ 1 การดำเนินการเป็นอันดับ 2และการวางแผนเป็นอันดับ 3 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาให้ความสำคัญด้านวิชาการเป็นอันดับ 1ด้านบริหารงานบุคคลเป็นอันดับ 2 และด้านงบประมาณเป็นอันดับ 3
คำสำคัญ: อัตลักษณ์/ การมีส่วนร่วมของชุมชน/ การจัดการศึกษา
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the level of participation in educational management of Sakolwisuth School, 2) to study the relationship between the process of community participation in educational management and quality of educational management of Sakolwisuth School, 3) to study problems and suggestions on the process of community participation in educational management of Sakolwisuth School, and 4) to find the identity of community participation in educational management of Sakolwisuth School. The research procedure comprised of 2 phases. Phase 1 the data were collected through the focus group of community meeting and the data were analyzed by content analysis and phase 2 the data were collected by a constructed 5-level rating scale questionnaire. The sampling group used for conducting the research comprised 15 members of the school board and 120 community representatives. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and the research hypothesis were tested by Pearson’s statistical method of correlation. The study yielded the following results: 1) The level of community participation in educational management of Sakolwisuth School was overall and in each aspect at high level, ranking from high to low as community participation in implementation, participation in follow-up and evaluation, and participation in planning. 2) The relationship between the process of community participation in educational management and quality of educational management of Sakolwisuth School, it was found that they were highly correlated with a strategical significance at the level of 0.05. The quality of educational management was overall and in each aspect at a moderate level, ranking from high to low as in the academic affairs, budgeting and personnel administration. 3) Problems and solutions were suggested, ranking of frequency in 3 areas as following order: (1) the communities had no involvement in following up and evaluation of personnel administration (2) the communities had no involvement in following up and evaluation of budgeting and (3) the communities had no involvement in following up and evaluation of academic affairs. The suggestions on the process of community participation in educational management, ranking of frequency in 3 areas as following order: (1) School should produce documents about school news and information and give them to students’ parents through students (2) School should prepare an information about school administration so that the parents would be informed on this issue and (3) the communities should be informed about budget. 4) For the identity of community participation in educational management, considered in terms of the values of correlative coefficients, it indicated that the importance was placed on following up and evaluation, implementation and planning respectively. For the quality of educational management, the importance was placed on academic affairs, personnel administration and budgeting respectively.
Keywords: Identity/ community participation/ educational management
บทนำ
ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาขาดการปรึกษาหารือกับชุมชนในการจัดทำแผนงาน มีงบประมาณดำเนินงานน้อย วัสดุครุภัณฑ์ให้บริการแก่ชุมชนไม่เพียงพอ และฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชนไม่เอื้อต่อการสนับสนุนโรงเรียน เป็นต้นการบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ได้รับการปฏิบัติน้อยกว่าการบริหารงานด้านอื่น และมีปัญหาอื่น ๆ ที่หลากหลาย เช่น ผู้ปกครองไม่สนใจการศึกษาของผู้เรียน ชุมชนไม่ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ครูอาจารย์มีชั่วโมงสอนมากไม่มีเวลาให้บริการชุมชน แหล่งทรัพยากรท้องถิ่นมีน้อย ผู้ปกครองในชุมชนยากจนไม่ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา และขาดวัสดุครุภัณฑ์ในการเผยแพร่เกียรติประวัติของสถานศึกษา เป็นต้น (หวน พินธุพันธ์, 2560 : 7-18)
การจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนในภารกิจ 3 งานหลัก คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารงานบุคคล แต่ก็ยังไม่สามารถให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการบริหารทุกขั้นตอนได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้อาจเกิดจากการประสานงานระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไม่เป็นเอกภาพและต่อเนื่อง เป็นต้น จึงทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนเท่าที่ควร และปัจจุบันโรงเรียนมีแนวทางในการดำเนินงานที่ยังไม่ชัดเจน และไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิในครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงหาศึกษาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิซึ่งจะเป็นแนวทางให้เกิดการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ
2) ศึกษาความสัมพันธ์ของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษากับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ
3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ
4) หาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ
วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลโดยการจัดประชาคม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร ได้แก่
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) กลุ่มตัวอย่างในการจัดเวทีประชาคม ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และตัวแทนประชาชนจากชุมชน จำนวน 20 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) (บุญชม ศรีสะอาด, 2554 : 45)
2) กลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามที่ได้จากการประชาคม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ซ้ำกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในเวทีประชาคมในพื้นที่ให้บริการของโรงเรียนสกลวิสุทธิ จำนวน 120 คน
ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลจจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 จัดเวทีประชาคมกลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการหาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ ขั้นตอนที่ 3 การสร้างเครื่องมือและพัฒนาเครื่องมือวิจัย โดยการกำหนดโครงสร้างเนื้อหาด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารงานบุคคล ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบเครื่องมือด้านเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่าน และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงข้อคำถามตามคำแนะนำ ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) โดยการนำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ นำไปทดลองใช้ (tryout) กับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 6 การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ที่อยู่ในพื้นที่บริการของโรงเรียนสกลวิสุทธิ และขั้นตอนที่ 7 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย(mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับการมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้เกณฑ์ตามแนวคิดของเบสท์ (Best, 1977 : 174) ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด
คะแนนเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมน้อย
คะแนนเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมมาก
คะแนนเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด
การทดสอบสมมุติฐานการวิจัย เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยใช้สถิติอนุมาน (inferential statistics) เพื่อใช้ทดสอบความสัมพันธ์รายด้านระหว่างตัวแปรต้น (X) คือ ระดับการมีส่วนร่วมกับตัวแปรตาม (Y) คือ คุณภาพการจัดการศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (rxy) ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) สำหรับการพิจารณาระดับของความสัมพันธ์ใช้ของ ประคอง กรรณสูตร (2542 : 111) ได้กำหนดไวดังนี้
ค่าสหสัมพันธ์ 0.30 หรือต่ำกว่า แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันน้อย
ค่าสหสัมพันธ์ 0.31 ถึง 0.70 แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันปานกลาง
ค่าสหสัมพันธ์ 0.71 ขึ้นไป แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก
ผลการวิจัย
1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ พบว่า โดยภาพรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน
2) ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษาในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับดีมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาโดยภาพรวมและจำแนกรายด้ายอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานบุคคล
3) ปัญหาและอุปสรรคที่พบมากที่สุดในแต่ละด้านและแนวทางแก้ไข เรียงตามลำดับความถี่ 3 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านการบริหารบุคลากร (2) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านงบประมาณ และ (3) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านวิชาการ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ 3 ลำดับแรก มีดังนี้ (1) ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารเกี่ยวกับข่าวสารและข้อมูลของโรงเรียน และแจกผ่านมาทางนักเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองทราบ (2) ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการบริหารงานให้ผู้ปกครองรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียน และ (3) ให้ชุมชนมีส่วนรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ
4) อัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลเป็นอันดับ 1 การดำเนินการเป็นอันดับ 2และการวางแผนเป็นอันดับ 3 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาให้ความสำคัญด้านวิชาการเป็นอันดับ 1ด้านบริหารงานบุคคลเป็นอันดับ 2 และด้านงบประมาณเป็นอันดับ 3
อภิปรายผลการวิจัย
1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาสอดคล้องกับแนวคิดของพงศ์เทพ ทับทิม (2552) เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนบ้านคลองสิบสอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี พบว่า การมีส่วนร่วมด้านการวางแผนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก
2. ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษา สอดคล้องกับ ชูชาติ พ่วงสมจิตร (2560) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีแนวทางในการดำเนินการสองแนวทาง คือ 1) การสร้างความสัมพันธ์ทางตรง ประกอบด้วยวิธีการหลัก 2 ประการ ได้แก่ การนำโรงเรียนออกสู่ชุมชน และ การนำชุมชนเข้ามาสู่โรงเรียน และ 2) การสร้างความสัมพันธ์ทางอ้อม โดยการพัฒนาให้บุคลากรมีมนุษยสัมพันธ์อันดีสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ การปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัย ร่มรื่น สวยงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้มาเยี่ยมเยือน
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการจัดการศึกษาในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน ปัญหาที่พบมากที่สุดในแต่ละด้านและข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษา เรียงตามลำดับ ดังนี้
(1) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านการบริหารบุคลากร
(2) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านงบประมาณ
(3) ปัญหาการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลด้านวิชาการ
4. อัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสกลวิสุทธิ พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลเป็นอันดับ 1 การดำเนินการเป็นอันดับ 2 และการวางแผนเป็นอันดับ 3 โดยคุณภาพการจัดการศึกษาให้ความสำคัญด้านวิชาการเป็นอันดับ 1ด้านบริหารงานบุคคลเป็นอันดับ 2 และด้านงบประมาณเป็นอันดับ 3
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 การศึกษาอัตลักษณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนทำให้ทราบสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา พร้อมทั้งทราบระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้
1.2 ความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของชุมชนกับคุณภาพการจัดการศึกษา เป็นบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้คณะกรรมการสถานศึกษาและประชาชนได้เข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมให้มากยิ่งขึ้น
1.3 พัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนด้วยการนำการประกันคุณภาพมาใช้ เช่น ระบบการประเมินตนเองที่เรียกว่า SSR (Self Study Report) มาใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีต่อหน่วยงานต้นสังกัด และชุมชน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเพื่อศึกษาว่ามีปัจจัยใดที่ส่งผลให้ได้คณะกรรมการสถานศึกษาที่มีความรู้ความสามารถที่จะทำให้การบริหารสถานศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น
2.2 ควรมีการศึกษามิติการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียน และชุมชนที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
เอกสารอ้างอิง
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian EJournal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1342-1354.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร. (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พงศ์เทพ ทับทิม. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนบ้านคลองสิบสอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
หวน พินธุพันธ์. (2560). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 52, 7-18.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.