รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
ของนักเรียนโรงเรียนวังน้อยวิทยาภูมิ
ผู้รายงาน นายชัชวาลย์ ระดาฤทธิ์
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้านวินัยและความซื่อสัตย์ของโรงเรียนวังน้อยวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านบริบท(Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ(Process Evaluation) และด้านผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการ โดยใช้รูปแบบ CIPP Model เป็นรูปแบบการประเมินที่มีความสมเหตุสมผล ครอบคลุมการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จํานวน 278 คนครูผู้สอนจํานวน 36 คนผู้ปกครองจํานวน 278 คนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจํานวน 14 คนรวม 606 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วยแบบสอบถามจํานวน 8 ฉบับแบบทดสอบจํานวน 1 ฉบับ แบบสังเกตจำนวน 2 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์จำนวน 2 ฉบับรวม 13 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยายซึ่ง ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม และแบบทดสอบโดยใช้สูตรของครอน และใช้ r หาค่าความเชื่อมั่นตามสูตร KR-20 เพื่อหาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจําแนกของแบบทดสอบ
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมิน ด้านบริบท (Context Evaluation) พบว่า คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้าราชการครูมีความคิดเห็นด้านบริบทในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า โครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องของความต้องการจําเป็นในการจัดทําโครงการและความเป็นไปได้ของโครงการ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับที่หนึ่ง คือ หลักการ วัตถุประสงค์ มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ รองลงมา คือ ผู้บริหารสถาน ศึกษาสนับสนุนและสร้างความตระหนักให้แก่ผู้เกี่ยวข้องก่อนดำเนินโครงการและอันดับสุดท้ายคือ ความเป็นไปได้ของการติดตามประเมินผล
2. การประเมินด้านปัจจัยนําเข้า (Input Evaluation) พบว่า คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและข้าราชการครูมีความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดแสดงว่าโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องของความเหมาะสมของบุคลากรและความเหมาะสมของกิจกรรมเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับที่หนึ่ง คือ กิจกรรมทุกกิจกรรมสามารถปฏิบัติได้จริง รองลงมา คือ กิจกรรมทุกกิจกรรมบรรลุวัตถุประสงค์ และอันดับสุดท้าย คือ กิจกกรมทุกกิจกรรมมีความน่าสนใจ
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ข้าราชการครูมีการปฏิบัติด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่า โครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องของร้อยละการดำเนินงานตามโครงการ และร้อยละการติดตามของโครงการ เมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบว่า ร้อยละการดำเนินงานตามโครงการได้ดำเนินกิจกรรมจํานวน 9 กิจกรรมและไม่ได้ดำเนินการจํานวน 1 กิจกรรม คือ กิจกรรมธรรมะออนไลน์ และร้อยละการติดตามของโครงการได้ดำเนินการกิจกรรมจํานวน 10 กิจกรรม สรุปผลในภาพรวมของด้านกระบวนการ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด จะเห็นได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินที่กําหนดไว้
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านการทดสอบความรู้เรื่องความรู้เรื่องวินัย และความซื่อสัตย์ พบว่าหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วในภาพรวม นักเรียนมีความรู้เรื่องวินัย และความซื่อสัตย์เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น แสดงว่าการเข้าร่วมโครงการทำให้นักเรียนมีความรู้เรื่องวินัย และความซื่อสัตย์เพิ่มขึ้น ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านการสังเกต พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วในภาพรวมนักเรียนมีพฤติกรรมที่มีวินัยและความซื่อสัตย์เพิ่มขึ้นแสดงว่าการเข้าร่วมโครงการทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่มีวินัยและความซื่อสัตย์เพิ่มขึ้น ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน นักเรียน ผู้ปกครอง ข้าราชการครู และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้านวินัย และความซื่อสัตย์ ของนักเรียนโรงเรียนวังน้อยวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับที่หนึ่ง คือ นักเรียนนำความรู้ทักษะที่ได้รับจากโครงการไปใช้ในชีวิตประจำวัน รองลงมา คือ กิจกรรมตามโครงการเหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพนักเรียน และอันดับสุดท้าย คือ การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการประเมินในภาพรวมด้านผลผลิตซึ่งเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะเห็นได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินแสดงว่า การดำเนินโครงการของโรงเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์