ขออนุญาตเผยแพร่ผลงาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
ผู้รายงาน นายธานินทร์ ขุนนนท์
ปีที่รายงาน 2565
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการดำเนินงานโครงการการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 และความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 โดยใช้การประเมินโครงการรูปแบบCIPP Model ได้แก่ การประเมินด้านบริบท (Context) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องตัน (Input) การประเมินด้านกระบวนการ (Process) และการประเมินด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 123 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 123 คนและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประธานกรรมการ) จำนวน 123 คน ได้มาจากการดำเนินขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgran, 1970 : 608) และทำการสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 369 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามประมาณค่า
5 ระดับ (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows เพื่อคำนวณหาค่าความถี่และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้สถิติ คะแนนเฉลี่ย (X ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินโครงการการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกรูปแบบการประเมินรายด้านดังนี้
2.1 ด้านบริบท (Context) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก
2.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก
2.3 ด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก
2.4 ด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 โดยรวม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และด้านโรงเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ/โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.