การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ของโรงเรียนทุ่งโพธิ์
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาแพงเพชร
ชื่อผู้ศึกษา นายบัณฑิต จันทร์ภู่
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ของโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาแพงเพชร ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาแพงเพชร 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ของโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาแพงเพชร ใน 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนาเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต การดาเนินการศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จานวน 3 คน ครู จานวน 41 คน นักเรียน จานวน 133 คน และผู้ปกครอง จานวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จานวน 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 สาหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครู ได้แก่ ด้านปัจจัยนาเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 สาหรับนักเรียนและผู้ปกครอง ได้แก่ ด้านผลผลิต ขั้นตอนที่ 2 แนวทางพัฒนาการโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาแพงเพชร โดยการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนปลอดขยะ จานวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการประเมิน พบว่าภาพรวมของโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาแพงเพชร อยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปัจจัยนาเข้า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ บุคลากรดาเนินงาน ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สถานที่ ด้านกระบวนการ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การติดตาม ตรวจสอบ ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การวางแผนการดาเนินงาน ด้านผลผลิต ฉบับที่ 1 มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปลูกฝังให้นักเรียน ครู และผู้ปกครอง เห็นความสาคัญและสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องการลด การคัดแยกขยะ และการนาขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สร้างความตระหนักจิตสานึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดกับนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ฉบับที่ 2 มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปลูกฝังให้นักเรียน ครู และผู้ปกครอง เห็นความสาคัญและสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องการลด การคัดแยกขยะ และการนาขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สร้างความตระหนักจิตสานึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดกับนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
2. แนวทางพัฒนาการดาเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาแพงเพชร พบว่า ด้านปัจจัยนาเข้า สถานศึกษาควรมีการวางแผนงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อการดาเนินงาน ความร่วมมือของบุคลากรโดยมีเป้าหมายเดียวกัน การจัดสถานที่ที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม เพียงพอ การใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เกิดความคุ้มค่า ด้านกระบวนการ สถานศึกษาควรมีการนากระบวนการ PLC (Professional Learning Community) มาใช้ในการพัฒนาการดาเนินงาน เพื่อให้บุคลากรได้เข้าใจ ผ่านการร่วมคิด ร่วมทา ด้านผลผลิต สถานศึกษาควรมีการหาอัตลักษณ์ด้านโรงเรียนปลอดขยะโดยสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับนักเรียนในด้านจิตสานึก ความรับผิดชอบ เมื่อโรงเรียนประสบผลสาเร็จเป็นที่เรียบร้อยให้มีการส่งต่อไปยังครอบครัว และชุมชน