LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการPLC

usericon

ชื่อเรื่อง        การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน    นางวิไลลักษณ์ เมืองสง
ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการโรงเรียนตะโหมด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พัทลุง
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2564
บทสรุป

การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการของโครงการและด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC 2) ความพึงพอใจ ของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตะโหมด 3) ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จำแนกเป็น 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 4.2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 4.3) ผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และ 4.4) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน 73 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 313 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีจำนวน 10 ฉบับ มี 2 ลักษณะซึ่งลักษณะที่ 1 มีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทหรือสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนตะโหมด ฉบับที่ 6 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .83 - .95 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ม.3 และ ม.6 แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน ตามสภาพจริงและแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการประเมินพบว่า
    การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
1.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.56, S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
2.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็น ( = 4.62, S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยรวมครูมีความคิดเห็น ( = 4.88 , S.D. = 0.30) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.     ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1    ระดับคุณภาพการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยรวม ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76 , S.D. = 0.35) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกรายประเด็นตัวชี้วัด
4.2    ระดับความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนตะโหมด
ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.67 , S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.70 ,S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.66 , S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.3    ระดับความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินโครงการ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
    ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของครู ที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด
ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61 , S.D. = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน

        4.4    ผลการวิเคราะห์การพัฒนาผู้เรียน จำแนกเป็น
4.4.1    ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.2    ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนตะโหมด โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 36.18 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพม. พัทลุง) โดยรวม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 36.96 และระดับชาติ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.56 แสดงให้เห็นว่า ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนตะโหมด มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสูงกว่าระดับชาติ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนตะโหมด โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 35.23 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพม.พัทลุง) โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 35.21 ระดับชาติ โดยรวม มีคะแนน เฉลี่ยร้อยละ31.15 แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนตะโหมด มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับชาติ และสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.3    ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนโรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมสมรรถนะสำคัญของนักเรียนทั้ง 5 สมรรถนะ อยู่ในระดับดีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 และเมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะสำคัญ พบว่า สมรรถนะความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงสุด ร้อยละ 87.13 รองลงมาได้แก่ มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 87.02 ส่วนสมรรถนะความสามารถในการคิด มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 81.13
4.4.4    ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการอยู่ในระดับดีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 90 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีความซื่อสัตย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 98.89 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์จิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.40 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใฝ่เรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ร้อยละ 93.10

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.    กิจกรรมการออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยจับคู่ PLC และนำเสนอผลงาน ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่ความยั่งยืน
2.     โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์ หรือ เผยแพร่ผลสำเร็จที่เกิดกับโรงเรียน ครู และนักเรียน ให้กว้างยิ่งขึ้น
3.     โรงเรียนควรกำหนดมาตรการที่เป็นแรงจูงใจ เชิงบวกกรณีที่ครูสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยตรวจสอบจากพัฒนาการครอบคลุม 1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน 3) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญ และ 4) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน

ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1.    ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับกลุ่มงาน หรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
    2.    ควรวิจัยพัฒนาศักยภาพของชุมชนในโรงเรียน และองค์กร เครือข่ายความร่วมมือจากกลุ่ม หรือหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาชุมชนโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^