การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน
ขณิฐา ชาปู่ : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน
และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 . 300 หน้า
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4. เพื่อประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ในประเด็นต่อไปนี้ 4.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุวรวิหาร) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 2 ห้องเรียน รวม 73 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุวรวิหาร) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาความต้องการและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุวรวิหาร) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) วิเคราะห์หลักการ สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปี ผู้วิจัยจึงจัดให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด เวลา 17 ชั่วโมง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามหลักการ จุดมุ่งหมาย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุวรวิหาร) โดยองค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังนี้ 1) ชื่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model 5) สื่อประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) เครื่องมือวัดประเมินผล 7) แบบทดสอบท้ายชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 8) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่าผู้วิจัยได้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ขึ้นมา 6 ชุด ประกอบด้วย 1. อัตราส่วนและอัตราส่วนที่เท่ากัน 2. อัตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวน 3. xxxส่วน 4. การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับxxxส่วน 5. ร้อยละ 6. การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับร้อยละ จากนั้นผู้วิจัยหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่าขั้นทดลองแบบรายบุคคล (One–to–one Try out) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วน และร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 67.85/68.89 ขั้นทดลองแบบกลุ่มเล็ก (Small group Try out) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 77.96/78.15 และขั้นทดลองแบบภาคสนาม (Field Try out) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ 81.33/81.78 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีประสิทธิภาพ 82.05/83.71 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
4. ผลการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 4.1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2 4.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่านักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.48 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.02 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/index.php?module=forum-write