การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านลาดวิทยา
ผู้ประเมิน นางสาวสุชัญญา ปรียานนท์
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ตามแนวคิดการประเมินรูปแบบCIPP Model ของ Stufflebeam ในการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นในเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วย 1) การสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ผู้เสนอกิจกรรม จำนวน 4 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน ซึ่งมีจำนวนเท่ากับประชากรทั้งหมด ตลอดจนบุคลากร จำนวน 50 คน นักเรียน จำนวน 168 คน และ ผู้ปกครอง จำนวน 168 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยเขียนชื่อประชากรทั้งหมดแล้วจับฉลากให้ได้จำนวนตามที่ต้องการเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ชุด โดยแบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน , ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม จำนวน 4 คน และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 50 คน กลุ่มที่ 2 ประเมินด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน , นักเรียน จำนวน 168 คนและผู้ปกครอง จำนวน 168 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการประเมิน พบว่า
ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบ CIPP Model สรุปดังนี้
1.) ผลการประเมินโครงการด้านบริบท ของการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย = 4.37 , S.D. = 0.49 ) เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ผลการประเมินมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ด้านคือด้านองค์ประกอบของโครงการ ส่วนผลการประเมินในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านด้านการวางระบบบริหารงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน( ค่าเฉลี่ย = 4.37 , S.D. = 0.49 ) และด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ ( ค่าเฉลี่ย = 4.13 , S.D. = 0.55)
2) ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า ของการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมผลประเมินอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย = 4.31 , S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ผลการประเมินที่มีความเหมาะสมมากที่สุดจำนวน 2 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ( ค่าเฉลี่ย = 4.61 , S.D. = 0.43) และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ( ค่าเฉลี่ย = 4.54 , S.D. = 0.49) ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมในระดับมาก จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเหมาะสมของงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (ค่าเฉลี่ย = 4.41 , S.D. = 0.46) ด้านความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ อาคาร สถานที่ (ค่าเฉลี่ย = 4.32 , S.D. = 0.47)และ ด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหารและความรู้ความสามารถของบุคลากร ( ค่าเฉลี่ย = 3.89 , S.D. = 1.13) ตามลำดับ
3)ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการของการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด( ค่าเฉลี่ย = 4.52 , S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ผลการประเมินที่มีความเหมาะสมมากที่สุดจำนวน 2 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ( ค่าเฉลี่ย = 4.56, S.D.=0.47) และการส่งเสริมพัฒนานักเรียนที่หลากหลาย ( ค่าเฉลี่ย = 4.55, S.D.=0.52) ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งต่อนักเรียน ( ค่าเฉลี่ย = 4.50, S.D.=0.68) และด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข ( ค่าเฉลี่ย=4.48,S.D.=0.51)ตามลำดับ
4)ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิตของการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมผลประเมินอยู่ในระดับมาก( ค่าเฉลี่ย = 4.44, S.D.0.56) โดยความสำเร็จระดับโรงเรียนนั้นมีความเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =4.53,S.D.=0.54) ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านชั้นเรียน ( ค่าเฉลี่ย=4.42,S.D.=0.51) รองลงมาคือความสำเร็จระดับโรงเรียน และความสำเร็จระดับชุมชน ( ค่าเฉลี่ย=4.36,S.D.=0.62) ตามลำดับ