รายงานการประเมินโครงการ โครงการน้อมนำศาสตร์พระราชา
ส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านริมทะเล
อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
ผู้ประเมิน สมโภชน์ ศรีสมุทร ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้ายริมทะเล
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการโครงการน้อมนำศาสตร์พระราชา ส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านริมทะเล อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบท (Context evaluation) ของโครงการซึ่งประกอบด้วยความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของสถานศึกษา และความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ของโครงการซึ่งประกอบด้วยความเพียงพอและความเหมาะสม ของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และการบริหารจัดการโครงการ เพื่อประเมินกระบวนการ (Process evaluation) ของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยความเหมาะสมของการปฏิบัติงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล การนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ของโครงการ และเพื่อประเมินผลผลิต (Product evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของผลการดำเนินงานตามโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินรูปแบบจำลองซิป (CIPP Model) ในการประเมิน ซึงเป็นแบบจำลองที่เน้นกิจกรรมการประเมินควบคู่ไปกับการบริหารงาน โดยประกอบด้วยการประเมิน 4 ประเภท และมีลักษณะสอดคล้องกับโครงสร้างของระบบงานโดยทั่วไป คือ ด้านบริบท (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product evaluation) กลุ่มตั้งอย่างที่ใช้ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านริมทะเล จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านริมทะเล จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 54 และผู้ปกครองโรงเรียนบ้านริมทะเล จำนวน 39 คน รวมเป็น 103 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ช่วง โดยใช้แบบสอบามช่วงละ 1 ฉบับ จำแนกตามด้านนี่ต้องการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสามารถสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามการประเมินโครงการน้อมนำศาสตร์พระราชา ส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านริมทะเล อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา โดยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านริมทะเล คิดเป็นร้อยละ 52.43 เพศของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.40 อายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ อายุ ต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.43 ในส่วนของระดับการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ระดับประถมศึกษา คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 คิดเป็นร้อยละ 52.43
ในส่วนของผลการประเมินโครงการ สามารถสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ตามรูปแบบการประเมิน CIPP Model จำนวน 4 ด้าน โดยการหาค่าเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ดังนี้ พบว่าโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด(X ̅=4.67, S.D.=0.14) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
ด้านบริบท(Context evaluation) ในภาพรวมมีระดับความเหมาะสมของบริบท หรือสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับเหามะสมมากที่สุด (X ̅=4.54, S.D.=0.16) โดยมีความพร้อมในด้านต่อไปนี้ โครงการมีกิจกรรม กระบวนการสอดคล้องกับ ศาสตร์พระราชา และแนวปรัชญาของของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการทรงงานตามศาสตร์พระราชา และโครงการมีกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมที่สอดดล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนเรื่องที่ยังต้องพัฒนาเพิ่มเติมได้แก่ โครงการมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และชุมชน โครงการมีกิจกรรม และกระบวนการสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา และโครงการมีกิจกรรมที่ชัดเจน สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุนชน และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ คือ ควรมีการสำรวจความต้องการจำเป็นของชุมชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ควรเน้นและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติจริงและความเป็นไปได้ของโครงการ และเนื่องด้วยแต่ละชุมชนมีความแตกต่างด้านอาชีพจึงควรศึกษาบริบทที่คลอบคลุมทุกอาชีพ
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) โดยภาพรวมมีระดับความพร้อมของโครงการมากที่สุด (X ̅=4.65 , S.D.=0.23) โดยมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โครงการมีการจัดโครงสร้างงานกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของ คณะกรรมการบริหารโครงการชัดเจน โครงการมีผู้นำโครงการที่มีภาวะผู้นำ ประสบการณ์ในการบริหารโครงการและ โรงเรียนมีสถานที่ในการทำกิจกรรมเพียงพอและเหมาะสม ส่วนข้อที่ควรมีการพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม และเพียงพอ มีคณะบุคคลรับผิดชอบงานกิจกรรมที่เหมาะสมเพียงพอ และคณะกรรมการโครงการมีความรู้ และประสบการณ์ ด้านศาสตร์พระราชา เกษตร แบบผสมผสาน และเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ คือ ควรมีการวางแผนการดำเนินงานจากสถานศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่าย ควรมีการศึกษาดูงาน ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายและสถานศึกษา และควรมีการจัดอบรมขยายผลมีความเหมาะสม
ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) โดยภาพรวมมีกระบวนการดำเนินงาน การปฏิบัติงานระดับมากที่สุด (X ̅= 4.69, S.D.=0.22) โดยมีการดำเนินการปฏิบัติงานได้แก่ มีการพัฒนาบุคลากรของโครงการอย่างต่อเนื่อง การดำเนินโครงการมีการประชาสัมพันธ์เป็นระยะ ๆด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ชัดเจน การดำเนินงานแต่ละกิจกรรมใช้หลักการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีการกำหนดวิธีการประเมินผลโครงการที่เหมาะสม ชัดเจน ส่วนข้อที่ควรมีการพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ ขณะดำเนินโครงการมีการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งเป็นระยะ ๆ ให้เป็นไปตามแนวทางศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาของของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินโครงการใด้รับความสนไจเป็นอย่างดีจากนักเรียน และ ผู้ปกครองและ การดำเนินโครงการได้รับความร่วมมือจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี จากครูในโรงเรียน และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ คือ ควรเพิ่มการประสานงานกับหน่วยงานนอกสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามความเหมาะสม เช่น วิทยากรจากเกษตรอำเภอเกาะยาว ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบถึงโครงการและกิจกรรม และการดำเนินโครงการควรคำนึงถึงมาตรฐาน และตัวชีวัดของหลักสูตร
ด้านผลผลิต (Product evaluation) โดยภาพรวมพบว่า มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (X ̅= 4.81, S.D.=0.11) โดยมีระดับความพึงพอใจ ในข้อต่าง ๆได้แก่ นักเรียนเกิดพฤติกรรมขยัน ประหยัด ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และรับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาพส่วนมีความพอใจในการดำเนินโครงการ และ นักเรียนมีลักษณะพฤติกรรมที่มีความพอดี มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี ส่วนข้อที่ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพและ เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงประชาธิปไตย ในการคำเนินงานโครงการ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ คือ ควรจัดกิจกรรมให้หลากหลายมากกว่านี้เพื่อตรงกับความต้องการของผู้เรียน ควรเพิ่มกิจกรรมที่ฝึกทักษะอาชีพให้กับผู้เรียนมากขึ้น และ ควรสร้างผลิตภัณฑ์ที่นักเรียนสามารถจำหน่ายไปยังชุมชนภายนอกได้