การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคีและครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
ผู้วิจัย : นายนิธิศ ไชยปิน
ปีการศึกษา : 2564
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างการจัด การเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคีและครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคีและครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู 3) เพื่อ ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู และ 4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยครูวิชาการของอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โรงเรียนละ 1 คน และโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี จำนวน 13 คน และครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จำนวน 17 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคีและครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยาได้แก่ ผลสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู พบว่า สภาพปัจจุบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก อีกทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า สภาพปัจจุบันเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2.ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคีและครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล
3.ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคีและครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคีและครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ของครูผู้สอนที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า หลังการอบรมภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
4.ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคีและครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยาด้านด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ ในการนำ ไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี และครูกลุ่มอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด