การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
ชื่อผู้วิจัย นายนิธิศ ไชยปิน
ปีที่ทำการวิจัย 2563
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชนเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน 7 หมู่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแม่ใจ ผู้ปกครอง และนักเรียนชั้นประถมศึกษา 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 ปีการศึกษา 2563 รวมจำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 5 ชุด สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการ พบว่า
ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สรุปผลได้ดังนี้
1.ด้านบริบท ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านความต้องการจำเป็น อยู่ในลำดับที่ 2 กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ จัดกิจกรรมส่งเสริมภาวะ การเจริญเติบโตของนักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมและดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน คัดกรอง เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียน ดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และการบริหารจัดการขยะโรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงห้องน้ำ การจัดการสุขาภิบาลและความมีส่วนร่วมกับชุมชน ปรับปรุงห้องน้ำให้เพียงพอแก่นักเรียนและถูกสุขอนามัย ตามเกณฑ์มาตรฐาน HAS ทุกภาคการศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมโภชนาการและสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน 2) ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในลำดับที่ 3 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาและนโยบายของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในลำดับที่ 1 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการ มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียน และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จ มีผลการประเมินความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น สรุปด้านบริบทเท่ากับผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.ด้านปัจจัยเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านและที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรก ได้แก่ ด้านบุคลากร รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านอาคารสถานที่ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ สรุปด้านปัจจัยนำเข้าผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.ด้านกระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านการวางแผน (Plan) โดยรวมและรายข้อมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนกำหนดนโยบายการส่งเสริมสุขภาพที่ชัดเจน โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการและกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน โรงเรียนกำหนดแนวทาง การพัฒนาโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 2) ด้านการดำเนินงาน (Do) โดยรวมและรายข้อมีการปฏิบัติอยู่ ในระดับมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมตามตัวชี้วัดที่ 1 การผ่านการประเมินรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง และกิจกรรมตามตัวชี้วัดที่ 3 โรงเรียนมีโครงงานสุขภาพของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จชัดเจนในการลดปัญหาสุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนหรือชุมชนคือ โครงงานส่งเสริมการเรียนรู้และการบริหารจัดการขยะ โรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี 3) ด้านการตรวจสอบ ติดตาม (Check) โดยรวมและรายข้อมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนประเมินตนเองตามมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรเพื่อค้นหาสิ่งที่ยังไม่ได้ดำเนินงานหรือดำเนินการไม่เป็น ไปตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 4) ด้านการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา (Act) โดยรวมและรายข้อมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนวิเคราะห์และสรุปผลโครงการตามมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร และโรงเรียนรายงานผลการดำเนินแก่หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปด้านกระบวนการผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.ด้านผลผลิต ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้ 1) ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 3 มาตรฐาน 19 ตัวชี้วัด ปีการศึกษา 2563 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 19 ตัวชี้วัด 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร ทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชนเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน 7 หมู่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแม่ใจ ผู้ปกครอง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด