การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการสร้างวัตถุสามมิติโดยใช
โปรแกรมโปรเดสทอป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางลัชชญา โพสุวัน ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนวัดสุนทรพิชิตาราม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
ปีที่ทำการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรเดสทอป โดยมีค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 : ไม่ต่ำกว่า 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรเดสทอป 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรม
โปรเดสทอป ระยะเวลาที่ศึกษาค้นคว้าคือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ประชากร คือ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสุนทรพิชิตาราม จำนวน 20 คน โดยมีตัวแปรที่ศึกษา คือ
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรม
โปรเดสทอป ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการสร้างวัตถุ
สามมิติโดยใช้โปรแกรมโปรเดสทอป 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสร้างวัตถุสามมิติด้วยโปรแกรมโปรเดสทอป และ 3) ความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง
การสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรมโปรเดสทอป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรมโปรเดสทอป มีทั้งหมด 10 หน่วยการเรียนรู้ 2) แผนจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การจัดการเรียนการสอน แบบทฤษฎีของ Robert Gagne มาประยุกต์ใช้ จำนวน 10 แผน แผนละ
2 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่องการสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรมโปรเดสทอป แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรมโปรเดสทอป
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้
โปรแกรมโปรเดสทอปสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการโดยผู้วิจัยเป็น
ผู้สอนด้วยตนเอง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของกาเย่ จำนวน 10 แผน รวม 20 ชั่วโมง ผลของการหา
ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรม
โปรเดสทอป สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่า 83.70 / 81.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
มาตรฐาน80/80 สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรม
โปรเดสทอป สำหรับนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรมโปรเดสทอป สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนำทฤษฎีของกาเย่ มาประยุกต์ใช้สูงกว่าก่อนเรียน สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การสร้างวัตถุสามมิติโดยใช้โปรแกรมโปรเดสทอป สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมของผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 4.26 , S.D. = 0.04)