การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพฯ
โรงเรียนวัดบางหว้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวปนัดดา ทองปานดี
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดบางหว้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา วัตถุประสงค์ การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการของโรงเรียน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การจัดโครงสร้างองค์กร คุณลักษณะของบุคลากร งบประมาณและทรัพยากร วัฒนธรรมการทำงานในโรงเรียน และการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การประเมินและตรวจสอบคุณภาพ การติดตามผลการดำเนินงาน และการรายงานผลการประเมินตนเอง 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน คุณภาพการบริหารจัดการ คุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านคุณภาพโรงเรียนและความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องเประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดบางหว้า อำเภอเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 69 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (PurposiveเRandom Sampling) จำนวน 39 คนโดยเลือกศึกษาจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ทุกคน จำนวน 14 คน ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่นักเรียนถูกเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 14 คน (ผู้ปกครองป.4-6) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบท ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ จำแนกเป็น 6 ตัวชี้วัด มีข้อคำถามเจำนวนเ44เข้อเค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.90 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ จำแนกเป็น 7 ตัวชี้วัด มีข้อคำถามเจำนวนเ56เข้อเมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ จำนวน 6 ตัวชี้วัด ข้อคำถามเจำนวนเ54เข้อเมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับเ0.93ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด มีข้อคำถาม จำนวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ มีข้อคำถาม จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับเ0.80เประเมินโดยนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0
สรุปผลการประเมิน
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ จำนวน 6 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด วัตถุประสงค์ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษาและการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 7 ตัวชี้วัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ระบบบริหารจัดการของโรงเรียนมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านการจัดโครงสร้างองค์กร ด้านคุณลักษณะของบุคลากร ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านวัฒนธรรมการทำงานในโรงเรียน ด้านงบประมาณและทรัพยากรและด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 6 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การกำหนดมาตรฐานการศึกษามีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ขั้นการจัดทำแผนพัฒนาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน ขั้นการดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นการรายงานผลการประเมินตนเอง ขั้นการประเมินและตรวจสอบคุณภาพและขั้นการติดตามผลการดำเนินงาน ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดบางหว้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านคุณภาพการบริหารจัดการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านคุณภาพนักเรียนและด้านคุณภาพโรงเรียนตามลำดับและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด