การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมี (ปฏิกิริยาของกรด-เบส)
กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2, 6/4, 6/6, 6/8 และ 6/10 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม จำนวน 163 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผสมผสานกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยาของกรด-เบส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาของกรด-เบส และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผสมผสานกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยากรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2, 6/4, 6/6, 6/8 และ 6/10 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผสมผสานกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยาของกรด-เบส หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2, 6/4, 6/6, 6/8 และ 6/10 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มีคะแนนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาเคมีหลังเรียนเมื่อนำมาเทียบกับเกณฑ์ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาเคมีหลังเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด