LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญา

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย    การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญา
        ของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
โรงเรียนวัดมะปราง
ผู้วิจัย     นายธนาสันต์ จำนงค์
ปีที่วิจัย     2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง โดยออกแบบการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษา ขั้นที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบ ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ และขั้นที่ 4 การประเมินรูปแบบ ในขั้นการทดลองใช้รูปแบบ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลใน ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 75 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 4 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนวัดมะปราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ปีการศึกษา 2563 จำนวน 71 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบ
มีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง พบว่า ในภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ
ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาตามลำดับ จากการสัมภาษณ์แนวทางการบริหารจัดการศึกษา พบว่า สถานศึกษาควรมีการพัฒนาบุคลากร
ทั้งผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ให้มีความพร้อมในการดำเนินการ ตามระบบการบริหารจัดการที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและสามารถจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง ที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขอบข่ายการบริหาร 4) กระบวนการบริหาร ซึ่งมี 6 ขั้นใช้ชื่อว่า “2-SCA Model” 5) แนวทางในการประเมิน และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก
    3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง พบว่า
        3.1 คุณภาพครูในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับ
การปฏิบัติมากที่สุดโดยข้อที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด คือ มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน
        3.2 คุณภาพนักเรียนจากการประเมินคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียง พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 ที่ผลต่างร้อยละ 10.15 และนักเรียนมีระดับการปฏิบัติด้านคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียงในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ด้านการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม
ด้านการใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด ด้านการวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร
ด้านการใช้ทรัพย์สินของตนเองอย่างประหยัด และด้านการปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบมีเหตุผล ตามลำดับ
    4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนวัดมะปราง พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง มีความเห็นว่ารูปแบบมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ครอบคลุมในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการศึกษาในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^