รายงานผลการใช้ชุดการสอน เรื่องเซต
ผู้รายงานได้สรุปผลการใช้ชุดการสอน เรื่อง เซต การสอนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้
1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอน เรื่อง เซต การสอนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊ก
ซอว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี จำนวน 30 คน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.25 / 75.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75
2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน
เรื่องเซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดีพบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอน เรื่อง เซต การสอน
แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.87 และ ค่าเฉลี่ยรวมของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32ภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนในระดับมากที่สุด
อภิปรายผล
จากการศึกษางานวิจัย เรื่อง รายงานผลการใช้ชุดการสอน เรื่อง เซต โดยใช้กระบวนการ
สอนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ (JISAW) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีข้อค้นพบที่น่าสนใจและได้อภิปรายผลดังนี้
1. ชุดการสอน เรื่อง เซต มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ = 76.25/75.10
เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ = 75/75 ที่เป็นเช่นนี้เพราะกระบวนการสร้างและพัฒนาได้มีการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการที่เชื่อถือได้มีการวางแผนอย่างเหมาะสมผ่านการตรวจและให้ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญปรับปรุงตามคำแนะนำและทดลองใช้กับนักเรียนตามขั้นตอน คือ กลุ่มเล็ก กลุ่มกลางและกลุ่มภาคสนาม ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ในการวิจัยกับกลุ่มเป้าหมายได้ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของโสภาพรรณ ทองคำ (2558) ที่ได้ทำชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.31/80.48 ซึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุลายมาน บากา (2555) กล่าวถึงชุดการสอนเรื่อง ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี ผลการวิจัยพบว่าชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.33/76.89 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 และสอดคล้องกับงานวิจัยของธนันธร ไชยชนะ (2559) กล่าวถึงชุดการสอน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรือเสาะชนูปถัมภ์ จังหวัดนราธิวาส ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.37/78.37 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยชุดการ
สอน ซึ่งปรากฏผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะผู้รายงานได้นำชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะและกระบวนการคิดสามารถวิเคราะห์แบบทดสอบได้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของโสภาพรรณ ทองคำ (2558) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนราธิวาส หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับงานวิจัยของสุลายมาน บากา (2555) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี ผลการวิจัยพบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01และสอดคล้องกับธนันธรไชยชนะ (2559)ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3โรงเรียนรือเสาะชนูปถัมภ์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่เรียนจากใช้ชุดการสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอน เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในระดับ
ความพึงพอใจมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.96 และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.13 ทั้งนี้เนื้องจากมี การผลิตชุดการสอนอย่างเป็นขั้นตอน โดยในส่วนของเนื้อหาจะมีการจัดลำดับขั้นตอนนำเสนอเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมโดยจัดลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก มีการออกแบบสื่อและการเลือกรูปภาพประกอบกับเนื้อหาในแต่ละส่วนซึ่งมีความเหมาะสมกับเนื้อหา และในส่วนลำดับขั้นตอนการใช้งานชุดการสอนมีความชัดเจนเข้าใจง่าย มีการแนะนำการใช้งานสำหรับครูผู้สอนและสำหรับนักเรียนของแต่ละชุดซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของโสภาพรรณ ทองคำ (2558) ได้สึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนราธิวาส ต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของสุลายมาน บากา (2555) ได้ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี เรื่อง ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ผลการวิจัยโดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและสอดคล้องกับงานวิจัยของธนันธร ไชยชนะ (2559) ได้ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรือเสาะชนูปถัมภ์ จังหวัดนราธิวาส เรื่อง เซต ผลการวิจัยโดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด