การจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลักสูตรท้องถิ่น ศิริพร ขันติกาล
ศิริพร ขันติกาล : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง มะพร้าวและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว โรงเรียนวัดช่องลม(ธรรมโชติ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) สภาพการปฏิบัติการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก( Active
Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง มะพร้าวและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ของ
โรงเรียนวัดช่องลม(ธรรมโชติ) 2) คุณภาพของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่น
เรื่อง มะพร้าวและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning)
โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง มะพร้าวและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชากรของโรงเรียนวัด
ช่องลม(ธรรมโชติ) ปีการศึกษา 2565 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอน
จำนวน 11 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 53 คน รวม 64 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม
เกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพของนักเรียน
ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) และแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ
(percentage) คะแนนเฉลี่ย (