รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ผู้รายงาน นางสาวพิชชาพร อุ่นศิริ
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวัดรางกำหยาด 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวัดรางกำหยาด 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวัดรางกำหยาด 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวัดรางกำหยาด ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวัดรางกำหยาด มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ได้แก่ 1) ผู้นำการบริหารและวิชาการ 2) ทำงานเป็นทีม 3) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 5) ระบบดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการ และ 6) การวิจัยและพัฒนา (4) กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์ (Analyze) ขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) ขั้นเปิดชั้นเรียนและการสังเกตขั้นเรียน (Teaching and Observation) ขั้นสะท้อนคิดเพื่อการพัฒนา (Reflect) และขั้นสรุป แก้ไขปรับปรุง และพัฒนาต่อเนื่อง (Revise) (5) การวัดและประเมินผล และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ มีผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวัดรางกำหยาด พบว่า (1) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนวัดรางกำหยาด มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ผลงาน/ขึ้นงานของนักเรียนโรงเรียนวัดรางกำหยาด มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวัดรางกำหยาด ด้านความต้องครอบคลุม ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ มีผลประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: รูปแบบการบริหาร; การบริหารงานวิชาการ; การจัดการเรียนรู้เชิงรุก