ประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่โรงเรียนวัดเกาะ
ผู้ประเมิน นางสาวศิรินันท์ นันศรี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานที่ทำงาน โรงเรียนวัดเกาะ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่พิมพ์ 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนวัดเกาะ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิมบีม (Stafflebeam) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 68 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 68 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับบริบทของโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ
ผลการวิเคราะห์การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนวัดเกาะได้ดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า ความคิดเห็นในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการประเมินบริบทโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความคิดเห็นในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ พบว่า ในภาพรวมครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการประเมินกระบวนการโครงการ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านกระบวนการสามารถสรุปผลการประเมินกระบวนการในแต่ละกิจกรรมได้ดังนี้
3.1 กิจกรรมส่งเสริมระเบียบวินัยตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในภาพ รวม ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประเมินกระบวนการโครงการ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประเมินกระบวนการโครงการ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 กิจกรรมบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประเมินกระบวนการโครงการ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
3.4 กิจกรรมส่งเสริมการออมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินกระบวนการโครงการ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
3.5 กิจกรรมเกษตรพื้นที่น้อยในสถานศึกษา ธุรกิจนักเรียน พบว่า ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินกระบวนการโครงการ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต ในการประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนวัดเกาะ สรุปผลได้ดังนี้
4.1 การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกิดกับนักเรียน ประกอบด้วย
4.1.1 ด้านมีระเบียบวินัย
กิจกรรมส่งเสริมระเบียบวินัยตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ประเมินผลผลิตของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4.1.2 ด้านมีคุณธรรม
กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ประเมินผลผลิตของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4.1.3 ด้านส่งเสริมการเรียนรู้
กิจกรรมบูรณาการแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ พบว่า ในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ประเมินผลผลิตของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4.1.4 ด้านการอยู่อย่างพอเพียง
1) กิจกรรมส่งเสริมการออมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ประเมินผลผลิตของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
2) กิจกรรมเกษตรพื้นที่น้อยในสถานศึกษา กองทุนธุรกิจนักเรียน พบว่า ในภาพรวมของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ประเมินผลผลิตของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจต่อการดำเนินการของโครงการพบว่า ในภาพ รวมของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนวัด-เกาะ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด