รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมฯรร.เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์๕
รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๕ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 นโยบายโรงเรียและความต้องการจำเป็นของโรงเรียน 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมเพียงพอของโครงการใน 8 กิจกรรมย่อยเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารผู้ปกครองและบุคคลในชุมชน 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศ กำกับ ติดตามและสิ่งที่ต้องการแก้ไข 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืนและการถ่ายทอดส่งต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๕ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๕ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating scale)
5 ระดับและ 4 ระดับ โดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย(μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(σ)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า ระดับความคิดเห็นความสอดคล้องเหมาะสม
ด้านบริบทของการประเมินโครงการ ค่าเฉลี่ยโดยอยู่ในระดับมากที่สุด(μ=4.89,σ=0.21) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า ความสอดคล้องของกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนกับนโยบาย
ของกระทรวงศึกษาธิการ ความสอดคล้องของกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนกับนโยบาย
ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความสอดคล้องของกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
ของนักเรียนกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และความสอดคล้องของกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมของผู้เรียนกับนโยบายของโรงเรียนและความต้องการจำเป็นของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด(μ=5.00,σ=0.00) ส่วนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมของผู้เรียนมีความสอดคล้องกับสภาพชุมชนและกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมของผู้เรียนมีความเหมาะสมกับศักยภาพของทรัพยากรของโรงเรียนและชุมชนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(μ=4.65,σ=0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผ่านการประเมินทุกข้อ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโครงการ พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับความเหมาะสมด้านปัจจัยในการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๕ ที่มีต่อปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมทั้ง
8 กิจกรรม ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด (μ=4.86,σ=0.27) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า กิจกรรมน้องไหว้พี่ พี่ไหว้น้อง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ=4.92,σ=0.19) ส่วนกิจกรรมสภานักเรียน
มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(μ=4.78,σ=0.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๕ จำนวน 8 กิจกรรม ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อกระบวนการทำงานตามโครงการ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด(μ=4.70,σ=0.43) เมื่อพิจารณาแยกเป็นข้อแล้ว พบว่ากิจกรรมค่ายคุณธรรม“สร้างเด็กดี ศรีเจ้าพ่อ ๕” มีค่าเฉลี่ยสูงสุด(μ=4.74,σ=0.41) และกิจกรรมสภานักเรียน
มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(μ=4.66,σ=0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมตามความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการที่เกี่ยวกับผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน การถ่ายทอดส่งต่อพฤติกรรม
การมีคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๕ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด(μ=4.62,σ=0.44) เมื่อพิจารณาเป็นด้านแล้วพบว่า การถ่ายทอดส่งต่อ(T=Transportability Evaluation) ความยั่งยืนโครงการ(S=Sustainability Evaluation) และการประเมินผลกระทบ(Impact Evaluation)
มีค่าเฉลี่ยสูงสุด(μ=4.72,σ=0.42,μ=4.70,σ=0.43,μ=4.68,=0.44) ตามลำดับ ส่วนผลการประเมินด้านประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด(μ= 4.60,σ=0.44) ด้านการประเมินประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อแล้ว พบว่าพฤติกรรมด้านมีน้ำใจ มีค่าเฉลี่ย
มากที่สุด(μ=4.74,σ=0.41) พฤติกรรมด้านความขยันและความมีวินัย มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด(μ=4.46,σ=0.42)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมตามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการที่เกี่ยวกับผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน การถ่ายทอดส่งต่อพฤติกรรม
การมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๕ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด(μ=3.65,σ=0.48) เมื่อพิจารณาเป็นด้านแล้ว พบว่า ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (T=Transportability Evaluation) ความยั่งยืนโครงการ(S=Sustainability Evaluation) และการประเมินผลกระทบ(Impact Evaluation) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด(μ=3.72 ,σ=0.44 ,μ=3.69,σ=0.45,μ=3.66,σ=0.48) ตามลำดับและ
การประเมินประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation)มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(μ=3.64,σ=0.49) ส่วนการประเมินประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) เมื่อพิจารณาแยกเป็นข้อแล้ว พบว่า พฤติกรรมด้านมีน้ำใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด(μ=3.71,σ=0.44) ส่วนพฤติกรรมด้านความขยัน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด(μ3.60,σ=0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
6. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการที่เกี่ยวกับผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน การถ่ายทอดส่งต่อพฤติกรรม การมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๕ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด(μ=3.70,σ=0.44) เมื่อพิจารณาเป็นด้านแล้ว พบว่า ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (T=Transportability Evaluation) ความยั่งยืนโครงการ(Sustainability Evaluation) การประเมินผลกระทบ(Impact Evaluation) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด(μ=3.85,σ=0.34,μ=3.74,σ=0.43, μ=3.69,σ=0.44) ตามลำดับ ส่วนการประเมินประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด(μ= 3.67,σ= 0.46) ด้านการประเมินประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า พฤติกรรมด้านความมีน้ำใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด(μ=3.75 ,σ= 0.42) และพฤติกรรมด้านความขยัน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด(μ=3.63,σ=0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
7. ผลการวิเคราะห์การประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๕ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด(μ=4.69,σ=0.42) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า การกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการอย่างชัดเจน การให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินการโครงการการให้ความร่วมมือของบุคลากรในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด(μ=4.90,σ=0.30) ส่วนการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของโครงการ และการนิเทศ ติดตาม กำกับ การดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(μ=4.40,σ=0.49)
8. ผลการวิเคราะห์การประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อผลการดำเนินโครงการ
มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด(μ=4.63,σ=0.42) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า ครูผู้สอนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดี และสถานศึกษามีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม มีระดับความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ=4.90,σ=0.30) ส่วนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น มีระดับของความพึงพอใจที่ต่ำสุด (μ=4.30,σ=0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ