การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสวนศรีวิทยา
รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล CIPP Model กลุ่มตัวอย่างการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ในปีการศึกษา 2564 ได้แก่ นักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 225 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากมีนักเรียนจำนวนมาก ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6 จำนวน 75 คน ครูจำนวน 75 คน และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 75 คน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประมาณค่าระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.89 - 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1.การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า การประเมินความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมระดับมาก รองลงมาคือ ความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและต้นสังกัด ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความพร้อมของสถานศึกษา ตามลำดับ
2.การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมระดับมาก รองลงมาคือบุคลากรของสถานศึกษา สื่อและวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณ ตามลำดับ
3.การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ การดำเนินงานตามแผน มีความเหมาะสมระดับมาก รองลงมาคือ การกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ และ การนิเทศ กำกับ ติดตามผลการประเมินผล ปรับปรุงพัฒนา ตามลำดับ
4.การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ทั้ง 4 ตัวชี้วัด พบว่า ด้านผลการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมาก และด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละด้านพบว่า
4.1ด้านผลการดำเนินงานโครงการซึ่งประเมินโดยครู พบว่า การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความร่วมมือของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาด้านต่างๆ และด้านความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านและโรงเรียน ตามลำดับ
4.2ด้านผลการดำเนินงานโครงการซึ่งประเมินโดยผู้ปกครอง พบว่า การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านความร่วมมือของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาด้านต่างๆ มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านและโรงเรียน และด้านการจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ตามลำดับ
4.3ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียน
สวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ที่มีต่อการดำเนินโครงการ พบว่าโดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากทุกตัวชี้วัด
4.3.1 ด้านความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 10 ข้อ โดยรวมผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้อ 9 ครูได้ช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ยากจน และบ้านไกล มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ข้อ2 โครงการสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อ 3 โครงการมีประโยชน์และส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ข้อ8 ครูรับรู้และมีข้อมูลนักเรียนรายบุคคลครบทุกคน ข้อ10 ครูร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาด้านต่างๆ ของนักเรียนได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ ข้อ4 นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการ ข้อ5 นักเรียนเข้าใจตนเองและผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ข้อ6 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และข้อ7 นักเรียนที่มีปัญหาสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้ ตามลำดับ
4.3.2 ด้านความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 10 ข้อ โดยรวมผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้อ 10 ครูร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาด้านต่างๆ ของนักเรียนได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ข้อ8 ครูมีข้อมูลนักเรียนรายบุคคลครบทุกคน ข้อ3 โครงการมีประโยชน์และส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ข้อ5 นักเรียนเข้าใจตนเองและผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและข้อ9 ครูได้ช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ยากจน และบ้านไกล ข้อ2 โครงการสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อ7 นักเรียนที่มีปัญหาสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้ ข้อ6 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อ1 โครงการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด และข้อ4 นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการตามลำดับ
4.3.3 ด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 10 ข้อ โดยรวมผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้อ 10 ครูร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาด้านต่างๆ ของนักเรียนได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ข้อ5 นักเรียนเข้าใจตนเองและผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ข้อ8 ครูมีข้อมูลนักเรียนรายบุคคลครบทุกคน ข้อ 7 นักเรียนที่มีปัญหาสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้ ข้อ 9 ครูได้ช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ยากจน และบ้านไกล ข้อ3 โครงการมีประโยชน์และส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ข้อ6นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อ1 โครงการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ข้อ2 โครงการสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม และข้อ 4 นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการตามลำดับ
ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่าโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร อยู่ในระดับมาก ดังนั้นจึงควรให้มีการดำเนินงานตามโครงการนี้ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผล การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
ข้อเสนอแนะ
1.ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงโครงการในโอกาสต่อไป
1.1ผู้บริหารควรจัดกิจกรรมให้นักเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและขยายโครงการไปยังโรงเรียนใกล้เคียง จัดโครงการให้คลอบคลุมสู่ชุมชนให้มากขึ้นและควรประเมินผลกระทบจากการดำเนินโครงการที่มีต่อโรงเรียนและชุมชน
1.2นำผลการประเมินเป็นข้อมูลในการพัฒนาการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
1.3ในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยา ควรปรับลดในเรื่องของเอกสารตามโครงสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความซ้ำซ้อนให้น้อยลงเพื่อลดภาระของครู
1.4ในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสวนศรีวิทยาควรมีการอบรมครูที่มาบรรจุใหม่ให้เข้าใจถึงขั้นตอนวิธีการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ขั้นตอนเพื่อให้มีความเข้าใจและมีความชัดเจนในการดำเนินงาน
2.ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 การประเมินโครงการลักษณะนี้ควรจะประเมินไปถึงผลกระทบ การขยายผลและความยั่งยืน เมื่อโครงการสิ้นสุดไปแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2.2 ควรประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบอื่นๆมาเทียบเคียง เช่น การประเมินโดยใช้รูปแบบของKirkpatrick เป็นต้น
2.3 การประเมินโครงการที่นักเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการในโอกาสต่อไป ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินงานจนสิ้นสุดการดำเนินงาน