การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะค
คนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2
ผู้วิจัย เสาวลักษณ์ บุญจันทร์
ปีที่ทำวิจัย 2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 (2) เพื่อสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 (3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 และ (4) เพื่อประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยวิธีวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยยกร่างรูปแบบและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบ ประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู จำนวน 28 คน และนักเรียน จำนวน 451 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ และแบบบันทึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการตามหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 492 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน
28 คน ผู้ปกครอง จำนวน 451 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วม การมีภาวะผู้นำร่วม ชุมชนกัลยาณมิตร การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ การทำงานร่วมกันของทีม การสะท้อนผลและการประเมิน เงื่อนไขการสนับสนุน
2. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) องค์ประกอบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วม การมีภาวะผู้นำร่วม ชุมชนกัลยาณมิตร การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ การทำงานร่วมกันของทีม การสะท้อนผลและการประเมิน เงื่อนไขการสนับสนุน (4) การวัดและประเมินผล (5) ผลลัพธ์ (6) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
3. ผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน พบว่า (1) ผลการประเมินคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก (2) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาเพิ่มขึ้นทุกระดับชั้น
4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนวัดทัพหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ