การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
โรงเรียนอนุบาลโคกศรีสุพรรณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
ผู้รายงาน นายพรประเสริฐ สิทธิศรี
สถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลโคกศรีสุพรรณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนอนุบาล
โคกศรีสุพรรณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน
ความสอดคล้องด้านบริบท (Context) ความพร้อมและความพอเพียงด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
การดำเนินการด้านกระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) ของโครงการในปีการศึกษา 2564
โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษานักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครอง รวมจำนวน 512 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามบริบทของโครงการ จำนวน 12 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.46 – 0.92 ค่าความเชื่อมั่น 0.88 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 24 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.49 – 0.95
ค่าความเชื่อมั่น 0.90 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 30 ข้อ
ค่าอำนาจจำแนก 0.45 – 0.92 ค่าความเชื่อมั่น 0.87 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามด้านผลผลิต ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา
สังคม จำนวน 36 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.46 – 0.89 ค่าความเชื่อมั่น 0.92 ตอนที่ 2 แบบสอบถาม
ด้านคุณธรรมอัตลักษณ์ของนักเรียน จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.51 – 0.88 ค่าความเชื่อมั่น 0.90
ตอนที่ 3 แบบสอบถามด้านคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ จำนวน 10 ข้อ
ค่าอำนาจจำแนก 0.48 – 0.86 ค่าความเชื่อมั่น 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการประเมินพบว่า
1. บริบทของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ และ
ระดับมาก 9 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินโครงการ
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก และทุกด้านอยู่ในระดับมาก
โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านโครงสร้างบริหารงานโครงการรองลงมาตามลำดับ คือ ด้านอาคารสถานที่
ด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านหลักสูตรสถานศึกษา ด้านงบประมาณ และรายข้ออยู่ในระดับมาก
ทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีโครงสร้างการบริหารงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการ
สถานศึกษา และพระสงฆ์ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
จากหน่วยงานอื่น
3. กระบวนการดำเนินงานของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับ
มากที่สุด 2 ด้าน และระดับมาก 4 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์
ของโรงเรียน รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการสร้างการรับรู้และการยอมรับ ด้านการสร้างครูแกนนำ
และนักเรียนแกนนำ ด้านการกำหนดวิธีบรรลุคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน ด้านการลงมือปฏิบัติ
เพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างกลไกการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม และรายข้อ
พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 9 ข้อ และระดับมาก 21 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คุณธรรมอัตลักษณ์
มีความสอดคล้องกับปัญหาและสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนได้ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ
มีการประเมินผล สรุป และรายงานผลการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ต่อผู้บริหาร หรือหน่วยงานต้นสังกัด
4. ผลผลิตของโครงการ ดังนี้
4.1 ผลผลิตด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา สังคม ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด และทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านร่างกาย รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 27 ข้อ และระดับมาก 9 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักธรรมได้อย่างเหมาะสม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปพัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นรูปธรรม
4.2 ผลผลิตด้านคุณธรรมอัตลักษณ์ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ
ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความพอเพียง รองลงมาตามลำดับ คือ
ด้านความรับผิดชอบ ด้านความกตัญญู ด้านอุดมการณ์คุณธรรม ด้านความซื่อสัตย์ และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 17 ข้อ และระดับมาก 13 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนยึดหลักความประหยัด
และไม่ฟุ่มเฟือยในการใช้จ่าย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธีและสมานฉันท์
4.3 ผลผลิตด้านคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อ และระดับมาก 3 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สามารถนำคุณธรรมอัตลักษณ์ในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเวลาให้เหมาะสม