การเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD
STAD เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดย วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียน โดยวิธีการจัดการเรียนการสอน แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 3/2 ที่เรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 41 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อน-หลัง เรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1. เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจเนื่องมาจากการที่นักเรียนได้มีการปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม ทําให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2. นักเรียนมีความพึงพอใจที่เรียนโดยวิธีการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ การเรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ดําเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถหา ค่าและแก้โจทย์เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติได้เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิก ภายในกลุ่ม อีกทั้งอาจนําผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงแก้ปัญหาหรือส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องต่อไป