การประเมินโครงการระบบดูแลนักเรียน
โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา”
ผู้วิจัย นางอัจฉราพร นาคดิลก
สังกัด โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา”
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” โดยใช้รูปแบบการประเมินของ D.L.Stufflebeam ที่เรียกว่า CIPP Model ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินบริบท (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) และประเมินความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 529 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 32 คน ใช้ตาราง Krejecie & Morgan ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 242 คน และกลุ่มผู้ปกครอง 242 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนใช้ตาราง Krejecie & Morgan ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 9 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้ α หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยูในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ระดับความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า หลังจากดำเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในระดับมาก
4.2 นักเรียนมีทักษะชีวิต พบว่า หลังจากดำเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ในระดับมากที่สุด
4.3 ระดับความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.4 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.5 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.6 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก