รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ชื่อผู้ประเมิน นางมนทกานติ ล้วนประเสริฐ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ เป็นการรายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดนาขวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิตของโครงการ (Output Evaluation) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย คณะครู จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(ยกเว้นผู้แทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3- ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 35 คน และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive sampling) รวมทั้งสิ้น 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการตามความคิดเห็นของคณะครูในภาพรวมพบว่า ระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ด้านบุคลากร รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านงบประมาณ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมพบว่า ระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ด้านงบประมาณ รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่
2. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการตามความคิดเห็นของคณะครูในภาพรวมพบว่า ระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ การกำกับนิเทศติดตามและประเมินผล(Check) รองลงมา คือ การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล(Act) การดำเนินกิจกรรม(Do) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การวางแผน(Plan) ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองเครือข่ายในภาพรวมพบว่า ระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ การดำเนินกิจกรรม(Do) รองลงมา คือ การกำกับนิเทศติดตามและประเมินผล(Check) การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล(Act) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การวางแผน(Plan)
3. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Output Evaluation) แบ่งเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย
3.1 ผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักสูตร 8 ประการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 พบว่าในภาพรวม มีผลประเมินระดับดี – ดีเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.95 มีคุณภาพระดับมากที่สุด บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด เมื่อพิจารณาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีนักเรียนผ่านการประเมินระดับดี-ดีเยี่ยมค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 100 จำนวน 5 ข้อ คือ ข้อ 1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ข้อ 2 ซื่อสัตย์ สุจริต ข้อ 5 อยู่อย่างพอเพียง ข้อ 7 รักความเป็นไทย และ ข้อ 8 มีจิตสาธารณะ และ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ร้อยละ 94.54 คือ ข้อ 3 มีวินัย ข้อ 4 ใฝ่เรียนรู้ และข้อ 6 มุ่งมั่นใน การทำงาน
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวมพบว่า ระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมพบว่า ระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมพบว่า ระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด และตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมพบว่า ระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด