การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ชื่อผู้ศึกษา: นายร่อโอบ เส็นคง
สถานศึกษา: โรงเรียนสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส
ปีที่ศึกษา: 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง การใช้โปรแกรม SketchUp ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง การใช้โปรแกรม SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง การใช้โปรแกรม SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องการใช้โปรแกรม SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนสุไหงโก-ลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง การใช้โปรแกรม SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชารายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง การใช้โปรแกรม SketchUp สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 11 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ รายวิชารายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง การใช้โปรแกรม SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่สร้างตามวิธีวัดความพึงพอใจของลิเคิร์ต (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที(t-test) ผลการศึกษาพบว่า
1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชารายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง การใช้โปรแกรม SketchUp สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 79.11/78.02 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง การใช้โปรแกรม SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง การใช้โปรแกรม SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก