การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา วิช
ผู้วิจัย นางบุญยดา สุยะหมุด
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน
ปีที่การวิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา รายวิชา ว23103 การออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา ให้สูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 70 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เทคโนโลยีแก้ปัญหา รายวิชา ว23103 การออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) แบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.03/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. นักเรียนที่เรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด