การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
วัดกำแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ชื่อผู้ประเมิน : สมหมาย เทศขำ
ปีที่ประเมิน : พ.ศ. 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดกำแพงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท วัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ เพื่อประเมินปัจจัยการดำเนินงาน (Input Evaluation) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) และเพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation)ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน วัดกำแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ จำนวน 305 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน วัดกำแพง จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 142 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 142 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 63 คน ประกอบด้วย 1) คณะครู จำนวน 14 คน 2)คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดกำแพง จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie andMorgan,1970 หน้า 608) 3) นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 21 คน 3)ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 21 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selecting)เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation)ของโครงการแบบสอบถามเพื่อประเมินปัจจัยการดำเนินงาน (Input Evaluation) ของโครงการแบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการ แบบสอบถามเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation)และแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง (Semi - Structure Interview) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินโดยสรุป ดังนี้
ผลการประเมินโดยสรุปดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน วัดกำแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่าความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และวัตถุประสงค์ของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดสอด คล้องกับการสัมภาษณ์ของคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สรุปว่าสภาพทางปัญหาทางเศรษฐกิจ ทางสังคมที่เปลี่ยนไป ปัญหาและความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับหลักการและเหตุผลของการจัดทำโครงการและความตระหนักการเอาใจใส่ของผู้บริหาร รวมทั้งคณะครูที่มีความรู้ความสามารถในการร่วมกันพัฒนาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนให้เกิดผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ และในด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่าสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการและสภาพปัญหาของโรงเรียน โรงเรียนมีแผนการปฏิบัติงานตามเวลาที่กำหนดในโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ถูกต้องชัดเจน ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยการดำเนินงาน (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดกำแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่าในภาพรวม ความเหมาะสม ความเพียงพอ ของปัจจัยการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดกำแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า มีการปฏิบัติตามการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดกำแพง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท สรุปได้ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับสถานศึกษาดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนได้ครอบคลุมทั้ง 6 กิจกรรมอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ นักเรียนได้รับ การพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมทุกคน และบุคลากรในสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง พบว่า ในภาพรวม การปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2563 ของโรงเรียนวัดกำแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1-3 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับร้อยละ 77.03 และเมื่อ พิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีคะแนนรวมเฉลี่ยของผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด
4.3 ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดกำแพง ประกอบด้วย ครูผู้สอน นักเรียน และคณะกรรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4.4 รางวัลที่นักเรียนและโรงเรียนได้รับจากการแข่งขันตั้งแต่ระดับศูนย์ประสานงาน ทางการศึกษาขึ้นไป ปรากฏว่า จำนวนรางวัลที่นักเรียนได้รับตั้งแต่ระดับศูนย์ประสานงานทางการศึกษาขึ้นไป ในปี การศึกษา 2563 ได้รับรางวัล จำนวน 22 รายการ เป็นตามเกณฑ์ที่กำหนด คือไม่น้อย กว่า 5 รายการ ผ่านเกณฑ์ตามกำหนดบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ