รายงานการประเมินโครงการจิบกาแฟแลดนตรี ณ บางม่วง
ชื่อผู้รายงาน : ว่าที่ร้อยตรีบุญเลิศ สุวรรณรัตน์
ปีที่ดำเนินการ : ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการจิบกาแฟแลดนตรี ณ บางม่วง โรงเรียนบ้านบางม่วง จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการที่เกี่ยวข้องกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการดำเนินงานและกิจกรรมของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคคลากร งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ ระยะเวลาการดำเนินงานและสถานที่ของโครงการ จุดเด่น จุดด้อยของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการในส่วนของการบริหารงานและการดำเนินงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ ในส่วนของทักษะอาชีพของนักเรียน การจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและความพึงพอใจต่อโครงการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประชากรประกอบด้วย ครูโรงเรียนบ้านบางม่วง คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ครองนักเรียน จำนวน 29, 14, 316, 316 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการประเมินประกอบไปด้วย ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน 29, 14, 220, 220 ตามลำดับซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ การสุ่มอย่างง่ายโดยใช้วิธีการสุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก และการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามทั้งแบบปลายปิดและปลายเปิด โดยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การประเมินก่อนเริ่มโครงการ ระยะที่ 2 การประเมินระหว่างการดำเนินงานโครงการและระยะที่ 3 การประเมินผลหลังสิ้นสุดโครงการ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยได้กำหนดค่าน้ำหนักในการประเมินโครงการออกเป็น 4 ด้านและแบ่งค่าน้ำหนักออกตามกลุ่มผู้ประเมิน ผลการประเมินสามารถสรุปได้ดังนี้
สำหรับการประเมินโครงการจิบกาแฟแลดนตรี ณ บางม่วง ในภาพรวมทั้งโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีค่าคะแนนการประเมินรวมในทุกด้านการประเมินเท่ากับ 97.2 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งสามารถอธิบายผลการประเมินออกเป็นรายด้านได้แก่
1) การประเมินโครงการด้านบริบท ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างครู มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ย 4.83 อยู่ในระดับความสอดคล้องเหมาะสมมากที่สุด และผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษามีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 อยู่ในระดับความสอดคล้องเหมาะสมมากที่สุด
2) การประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างครู มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ย 4.56 อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด และผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษามีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด สำหรับสิ่งสนับสนุนที่ส่งเสริมให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ประกอบด้วยความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก การสนับด้านองค์ความรู้ และในส่วนของอุปสรรคของโครงการในครั้งนี้ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ งบประมาณ และความรู้ความสามารถของครู
3) การประเมินโครงการด้านกระบวนการดำเนินงานแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ส่วนคือ การบริหารงานและการดำเนินงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมของทั้งสองส่วนผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างครู มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 และ 4.64 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับความสอดคล้องเหมาะสมในระดับมากที่สุด และผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษามีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 และ 4.43 ตามลำดับ อยู่ในระดับความสอดคล้องเหมาะสมในระดับมากที่สุดและระดับความสอดคล้องเหมาะสมในระดับมาก นอกจากนี้จุดเด่น และจุดอ่อนของโครงการ สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ 1) โครงการเป็นโครงการตามความต้องการของนักเรียน 2) ความสามารถด้านดนตรีของนักเรียน 3) ความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก 4) การรายงานผลอย่างต่อเนื่องต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีจุดด้อยของโครงการ ได้แก่ การขาดความต่อเนื่องในการเปิดให้บริการของร้านกาแฟ สินค้าที่มีให้บริการภายในร้านและสถานที่ตั้งของร้านกาแฟ
4) การประเมินโครงการด้านผลผลิตซึ่งแบ่งออกเป็นการประเมินด้านทักษะอาชีพของนักเรียน การประเมินด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมทักษะอาชีพ และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการสามารถอธิบายได้ดังนี้
การประเมินด้านทักษะอาชีพของนักเรียน ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างครู มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 อยู่ในระดับการเห็นด้วยเห็นด้วยมาก ผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างนักเรียน มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
การประเมินด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมทักษะอาชีพ ผลการประเมินในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 อยู่ในระดับการเห็นด้วยมากที่สุด ผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างนักเรียน มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
การประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการประเมินในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน โดย ผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างครู มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 อยู่ในระดับการเห็นด้วยเห็นด้วยมากที่สุด ผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 อยู่ในระดับการเห็นด้วยมากที่สุด ผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างนักเรียน มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และผู้ประเมินกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง มีค่าคะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด