รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้สถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ผู้รายงาน : ชัชวาลย์ ใจอินทร์
ปีการศึกษา : 2564
รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ครั้งนี้ รายงานผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของโรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ด้านผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPPIEST Model ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบไปด้วย ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบไปด้วย ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 274 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยผึ้งระดับ อ.2 – ม. 6 จำนวน 278 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 9 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ หลักการและเหตุผลของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 มีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองลงมา คือ โครงการมีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโดยตรง และผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้ครูบุคลากร และนักเรียนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในโครงการตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับคือ โครงการเน้นให้ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ รองลงมา คือ โรงเรียนมีความพร้อมของสถานที่ในการดำเนินโครงการ และจำนวนบุคลากรเพียงพอสำหรับการดำเนินโครงการตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการ ตามความคิดเห็นผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีผลแต่ละด้านดังนี้
3.1 ผลการประเมินด้านการวางแผน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยค่าเฉลี่ย 2 ลำดับแรก คือ มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานโครงการเพื่อชี้แจงโครงการฯรองลงมาคือ มีการกำหนดสาระเนื้อหาตามองค์ประกอบของโครงการมีความชัดเจนและปฏิบัติได้ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามลำดับ
3.2 ด้านการดำเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ย 2 ลำดับแรก คือ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการให้กับนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน รองลงมาคือ กิจกรรม Onhand and เยี่ยมบ้านสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการตามลำดับ
3.3 ด้านการตรวจสอบ/ติดตาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ย 2 ลำดับแรก คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำกับ นิเทศ ติดตาม โครงการ รองลงมาคือ ผู้บริหารคอยกำกับ นิเทศ ติดตามให้ขวัญกำลังใจผู้เรียนสม่ำเสมอตามลำดับ
3.4 ด้านการทบทวน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ย 2 ลำดับแรก คือ การเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนมีการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอรองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการมีความต่อเนื่องตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ค่าเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับสูงสุด คือ ครูมีการประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อให้ทราบประเด็นที่เป็นปัญหาของนักเรียน อันดับที่ 2 คือ มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน อันดับที่ 3 คือ ครูและผู้ปกครองร่วมกับวิเคราะห์สาเหตุปัญหาของนักเรียนที่มีพฤติกรรมอยู่ในกลุ่มมีปัญหาและกำหนดวิธีการให้ความช่วยเหลือนักเรียน อันดับที่ 4 คือ มีกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคนและจัดทำข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลมีครูประจำชั้นให้บริการคำปรึกษากับ และมีการจัดกิจกรรมตามโครงการเพื่อให้นักเรียนรู้จักตนเองและควบคุมตนเองได้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยที่กัน และอันดับสุดท้าย คือ ครูที่ปรึกษาให้ข้อมูล แบบออนไลน์ในมิติต่างๆ
5. ผลการประเมินด้านผลกระทบโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ นักเรียนและครูมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันมากยิ่งขึ้น รองลงมา คือ ครู และนักเรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและนักเรียนนำองค์ความรู้จากกิจกรรมในโครงการเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตตามลำดับ
6. ผลการประเมินด้านผลกระทบโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันมาก รองลงมา คือ นักเรียนนำองค์ความรู้จากกิจกรรมในโครงการเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตและนักเรียนทุกคนรู้จักตนเองและควบคุมตนเองได้มากยิ่งขึ้นตามลำดับ
7. ผลการประเมินด้านประสิทธิผลโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามปัญหา รองลงมา คือ โรงเรียนและชุมชมมีการร่วมกิจกรรมในการดูแลช่วยนักเรียนมากยิ่งขึ้น และนักเรียนเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นและมีความสุขจากการร่วมกิจกรรมในโครงการตามลำดับ
8. ผลการประเมินด้านความยั่งยืนของโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา มีความตั้งใจและส่งเสริมกิจกรรมตามโครงการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือ โครงการควรมีการดำเนินอย่างต่อเนื่องต่อไปและโครงการมีการดำเนินงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนตามลำดับ
9. ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ มีการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ชุมชนกับหน่วยงานอื่นอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือ มีการขยายผลโครงการให้กับกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง และโรงเรียนประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบด้วยวิธีการที่หลากหลายตามลำดับ