LASTEST NEWS

28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567 

การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดป่าฯ

usericon

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดป่า (ท่าขึ้น)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวมนทิรา ทัลวรรณ์
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา    วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
    การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเโรงเรียนวัดป่า (ท่าขึ้น) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 โดยใช้รูปแบบซิปป์เ(CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าเด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเ2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สื่อและวัสดุอุปกรณ์และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์เการดำเนินงานตามแผน การนิเทศกำกับติดตาม การประเมินผลปรับปรุงพัฒนา การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 108 คน ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 52 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 43 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 55 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 - 6 จำนวน 22 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเจำนวนเ5 ฉบับ ได้แก่เแบบสอบถามฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบท (ประเมินก่อนดำเนินงาน) ข้อคำถาม จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 แบบสอบถามฉบับที่ 2 ด้านปัจจัย (ประเมินก่อนดำเนินงาน) ข้อคำถาม จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเแบบสอบถามฉบับที่เ2เประเมินด้านกระบวนการ (ประเมินระหว่างดำเนินงาน) ข้อคำถาม จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามฉบับที่เ3เประเมินด้านผลผลิตเเกี่ยวกับด้านผลการดำเนินงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ) ข้อคำถาม จำนวน 70 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามฉบับที่เ4 ประเมินความความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อคำถาม จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 ประเมินโดยนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows 16.0 ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
         1. ผลการประเมินบริบทของโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษาและการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
            2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากรของสถานศึกษา ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
         3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ มีความเหมาะสม มากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินงานตามแผน การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ การประเมินผลปรับปรุงพัฒนา และการนิเทศกำกับติดตามผล ตามลำดับ
             4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า โดยรวมมีผลการดำเนินงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัดเมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละด้านพบว่า
                4.1 ด้านผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 8 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 8 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสุขภาพจิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการรับรู้เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านอารมณ์ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านความรู้และทักษะ ด้านสังคม ด้านทักษะชีวิต ตามลำดับ
         4.2 ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
    ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่า โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดป่า (ท่าขึ้น) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นจึงควรให้มีการดำเนินงานตามโครงการนี้ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเเพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^