การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์
ของนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวสุนทรีพร อำพลพร
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ด้านความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความพอเพียงของนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ด้านความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความพอเพียงของนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,863 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,388 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” จำนวน 1,388 คน ครูโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” จำนวน 72 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 680 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 302 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” จำนวน 302 คน ครูโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” จำนวน 63 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนภาชี “สุนทรวิทยานุกุล” จำนวน 13 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 3 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 3 ฉบับ รวม จำนวน 15 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบทดสอบโดยใช้สูตรของครอนบาร์ค และใช้ r หาค่าความเชื่อมั่นตามสูตร KR-20 เพื่อหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ
ผลการประเมิน โดยสรุปมีดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ตัวชี้วัดระดับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
1.2 ตัวชี้วัดระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ตัวชี้วัดร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด โดยดำเนินกิจกรรมครบทั้ง 10 กิจกรรม หรือคิดเป็นร้อยละ 100
3.2 ตัวชี้วัดร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ
มากที่สุด โดยดำเนินการติดตามโครงการครบทั้ง 10 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 100
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน 8 ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์
การประเมิน 1 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ตัวชี้วัดนักเรียนมีความรู้เรื่องความซื่อสัตย์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด โดยหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรู้เรื่องความซื่อสัตย์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
4.2 ตัวชี้วัดนักเรียนมีความรู้เรื่องความรับผิดชอบ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ในระดับมากที่สุด โดยหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรู้เรื่องความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
4.3 ตัวชี้วัดนักเรียนมีความรู้เรื่องความพอเพียง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด โดยหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรู้เรื่องความพอเพียงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
4.4 ตัวชี้วัดนักเรียนมีความซื่อสัตย์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
โดยหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความซื่อสัตย์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
4.5 ตัวชี้วัดนักเรียนมีความรับผิดชอบ พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ
น้อยที่สุด โดยหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนไม่มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
4.6 ตัวชี้วัดนักเรียนมีความพอเพียง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
โดยหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความพอเพียงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
4.7 ตัวชี้วัดระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.8 ตัวชี้วัดระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.9 ตัวชี้วัดระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมิน พบว่า ประเด็นผลผลิต ตัวชี้วัดนักเรียนมีความรับผิดชอบ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จึงควรชี้แจงให้ผู้สังเกตพฤติกรรมนักเรียนศึกษาเกณฑ์การให้คะแนนที่แม่นยำ และถูกต้องเพื่อผลประโยชน์ของนักเรียน และควรปรับเพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมอัตลักษณ์
ด้านความรับผิดชอบให้มากขึ้น สร้างความตระหนักให้กับนักเรียน และครูมีบทบาทสำคัญที่บ่งบอกให้ทราบถึงคุณภาพผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียน และปัญหาด้านพฤติกรรม
2. จากผลการประเมิน พบว่า ประเด็นผลผลิต ตัวชี้วัดระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แม้ว่าจะผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก แต่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด จึงควรส่งเสริมให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน และให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ โรงเรียนควรเพิ่มเติมในส่วนของกิจกรรมที่สามารถพัฒนาให้นักเรียนมีคุณธรรมอัตลักษณ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านความรับผิดชอบ รวมทั้งขอความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนส่งเสริมบุตรหลาน
ให้เข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียน โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง