การประเมินโครงการแก้ไขปัญหาผลการเรียนโดยใช้คลินิกแก้ 0 ร มส
ผู้รายงาน ว่าที่ร้อยตรีสุภฌา สุวรรณบุตร
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการแก้ไขปัญหาผลการเรียนโดยใช้คลิกนิกแก้ 0 ร มส ของโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารผู้ดูแลโครงการ จำนวน 19 คน (ผู้บริหาร 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 คน) ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 188 คน (ครูและบุคลากร30 คน ผู้ปกครองนักเรียน 79 คน และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 79 คน) รวม 207 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แนวการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1) การประเมินโครงการแก้ไขปัญหาผลการเรียนโดยใช้คลิกนิกแก้ 0 ร มส ของโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารผู้ดูแลโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความเห็นดังนี้ 1) ด้านบริบท มีความเหมาะสมในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 5) ด้านผลกระทบ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 6) ด้านประสิทธิผล มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 7) ด้านความยั่งยืน มีความเหมาะสมในระดับมาก และ 8) ด้านการถ่ายโยงความรู้ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ตามความเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า ทั้ง 8 ด้านมีความเหมาะสมในระดับมาก 1) ด้านบริบท มีความเหมาะสมในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต มีความเหมาะสมในระดับมาก 5) ด้านผลกระทบ มีความเหมาะสมในระดับมาก 6) ด้านประสิทธิผล มีความเหมาะสมในระดับมาก 7) ด้านความยั่งยืน มีความเหมาะสมในระดับมาก และ 8) ด้านการถ่ายโยงความรู้ มีความเหมาะสมในระดับมาก
2) แนวทางการส่งเสริมความสําเร็จของโครงการแก้ไขปัญหาผลการเรียนโดยใช้คลิกนิกแก้ 0 ร มส ของโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา พบว่าจะต้องมีการกำหนดแผนพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน มุ่งเน้นการบูรณาการการทำงานระหว่างผู้บริหาร ครูและบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยจะต้องมีการร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมลงมือทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีบทบาทและเป็นฐานในการคิดแผนการดำเนินงาน ส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดความคิดของผู้เข้าร่วมโครงการ ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมสู่ความสำเร็จที่ดีตามวัตถุประสงค์ของโครงการ