การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ รร.หนองแสงวิทย
โดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรีสุภฌา สุวรรณบุตร
พิมพ์ พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษาโดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยมีจุดมุ่งหมายการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา 2) เพื่อพัฒนาสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้บริหาร 33 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 คน นักเรียน 459 คน ผู้ปกครองนักเรียน 459 คน บุคลากรเครือข่ายครู 18 คน ตัวแปรในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ตัวแปรต้น คือ การพัฒนาสภาพแวดล้อม ตัวแปรตาม คือ 1) ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 มาตรฐาน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4)สมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร 5) การด้าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ 6) ประสิทธิภาพการพัฒนา ได้แก่ ผลที่ปรากฏต่อนักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครอง 7) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ คือ การศึกษาวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษาโดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม คือ 1) องค์คณะบุคคลเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษาที่มีการแต่งตั้งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป หัวหน้างานอาคารสถานที่ครูและบุคลากร นักเรียนและที่ไม่มีการแต่งตั้ง ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ผู้แทนชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองแสง 2) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประชุมกลุ่มย่อย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีรูปแบบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน มีการระบุโครงสร้างการบริหาร ระบุหน้าที่ในการดำเนินงานที่ชัดเจน และมีวาระที่แน่นอน 4) กระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา มีการระบุหน้าที่ที่ชัดเจน
2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษาโดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยรูปแบบมี (1) องค์ประกอบคณะกรรมการที่ปรึกษา จำนวน 9 คน (2) องค์ประกอบของคณะกรรมการดำเนินงาน มี 30 คน (3) ขอบข่ายกิจกรรมเพื่อปรับภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วยกิจกรรม 16 กิจกรรมเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (4) กระบวนการการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษาโดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และมีคู่มือประกอบการการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษาโดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษาโดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม พบว่า หลังการใช้รูปแบบ ในภาพรวม มีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก (x ̅ = 3.70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้โรงเรียนมีผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561สูงกว่าค่าเป้าหมายและเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2561 ทั้ง 3 มาตรฐาน ได้แก้ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน พบว่า ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียน และผลการประเมินความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ปีการศึกษา 2562 สูงขึ้นจากปีการศึกษา 2561 ในทุกการประเมิน 2) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ พบว่า โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ (ร้อยละ 92.60) มากที่สุด รองลงมา คือ การจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ (ร้อยละ 95.26) และการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพนักเรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา (ร้อยละ 93.65) และ 3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า มีการส่งเสริมให้นักเรียนใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากที่สุด (ร้อยละ 95.92) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 91.36 3) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนหนองแสงวิทยศึกษา อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 94.33)