การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ผู้วิจัย นางสาวรชยา เสียงสนั่น
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของบุคลากรครูโรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ก่อนการฝึกอบรมกับหลังฝึกอบรม (2) เพื่อพัฒนาบุคลากรโรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรครูโรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งผู้วิจัยได้นาเอาหลักการและขั้นตอนตามแนวคิดของ Kermmis และ McTaggart มาใช้ในการดาเนินการวิจัย โดยมีการดาเนินงาน 2 วงรอบ (Spiral) ซึ่งประกอบด้วย ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติ (Action) ขั้นการสังเกต (Observation) และขั้นการสะท้อนผล (Reflection) โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศ และการนิเทศแบบกัลยาณมิตร กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีจานวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย และผู้ร่วมวิจัย มีความยินดีสมัครใจร่วมจานวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulatiom Technique) และนาเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ในวงรอบที่ 1 โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ ทาให้ครูมีความรู้ความเข้าใจและสามารถเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้อย่างดี ส่วนการนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ปรากฏว่าครูยังมีจุดบกพร่องที่จะต้องได้รับการพัฒนา ในขั้นตอนการนาเสนอผลงาน และขั้นตอนการสานองค์ความรู้ (Summarize : S) จึงมีการพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์การนิเทศแบบกัลยาณมิตร ทาให้ครูทั้งหมดมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และนาแผนการจัดการเรียนรู้ ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบุคลากรครูโรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
โดยสรุป การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้านห้วยโนนเจริญ อาเภอศีขรภูมิ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศ และการนิเทศแบบกัลยาณมิตร ทาให้ครูได้รับความรู้ความเข้าใจ เกิดทักษะ สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ จึงควรให้นากลยุทธ์ดังกล่าว ไปใช้ในการพัฒนาครู ในสถานศึกษาอื่นต่อไป