การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ ปีการศึกษา 2564
ลักษณะผลงาน การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้ประเมิน นางสาววทันยา อ่ำพันธ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนอยุธยานุสรณ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ในปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น และความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากรและความเหมาะสมของกิจกรรม ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการและการติดตามโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความรู้เรื่องยาเสพติด การป้องกันตนเองจากยาเสพติด ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ สามารถหารายได้พิเศษในช่วงเวลาว่าง นักเรียนได้ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมที่ตนเองถนัด มีความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการเข้าร่วมโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นม.1–ม.6 จํานวน 335 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้ปกครองนักเรียน จํานวน 335 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ครูและบุคลากรของโรงเรียน จำนวน 86 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 14 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม จำนวน 10 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ รวม 12 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-test แบบไม่อิสระซึ่งผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน โดยภาพรวม พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินมากที่สุดทุกประเด็น เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านกระบวนการ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิต ผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 กิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 การติดตาม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 นักเรียนมีส่วนร่วมสร้างจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 นักเรียนมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 จำนวนเครือข่ายเพื่อการป้องกันยาเสพติด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
4.6 ความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินโครงการ พบว่า ผลการดำเนินการโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ในปีการศึกษา 2564 ผ่านการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน