รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายเกรียงศักดิ์ แดวากม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอุไร
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 โดยใช้การประเมินรูปแบบซิปป์(CIPP Model) มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การประเมิน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 25 คน ครู จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 25 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วยแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ IOC หาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha-coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (x-bar ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar = 4.64, S.D. = .48) มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (x-bar= 4.56, S.D. = .50) มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดเช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.51, S.D. =.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น/ตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มผู้ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น/ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar= 4.57, S.D.= .50) รองลงมา คือ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.53, S.D.= .50) และกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x-bar= 4.50, S.D.= .50) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564
4.1 คุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มผู้ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น/ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar= 4.50, S.D.= .50) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน (x-bar= 4.49, S.D.= .50) อยู่ในระดับมาก และกลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x-bar= 4.48, S.D.= .50) อยู่ในระดับมาก
4.2 ผลการประเมินความสามารถของนักเรียนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชนตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มผู้ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น/ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar= 4.52, S.D.= .50) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มครู (x-bar= 4.51, S.D.= .50) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านอุไร ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัดและเกณฑ์ การประเมิน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มผู้ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น/ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar= 4.62, S.D.= .49) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน (x-bar= 4.61, S.D.= .49) อยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(x-bar= 4.51, S.D.= .50) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ผู้บริหารควรนำผลการประเมินโครงการวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งความสำเร็จและอุปสรรค เทียบเคียง เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
2. ผู้บริหารควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูและบุคลากรเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรม การเรียนรู้และสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. สถานศึกษาควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม และประสานการระดมทรัพยากรจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
4. สถานศึกษาควรมีการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผล การประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป
ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา นอกเหนือจากการประเมิน รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและประสิทธิผลที่เกิดกับนักเรียน
2. ควรศึกษาพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง