รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน
โรงเรียนวัดศรีวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
นางปรางกมล ล้อจงเฮง
ชื่อผู้รายงาน
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดศรีวิชัย อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ปีที่รายงาน
ปีการศึกษา 2563
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดศรีวิชัย สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context) 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input) 3) ประเมินกระบวนการ (Process) และ 4) ประเมินผลผลิต (Product) เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ (1) พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้านคุณธรรมเพื่อพัฒนาตน คุณธรรมเพื่อพัฒนาการทำงาน และคุณธรรมเพื่อพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม (2) ความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อโครงการ ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ความพึงพอใจของผู้นำชุมชนที่มีต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ความพึงพอใจของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน และความพึงพอใจ ของครูที่มีต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน การประเมินประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 11 ฉบับ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น จำนวน 219 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 219 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และครูจำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ ตามความเห็นของผู้ปกครองมีผลการประเมิน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.76, S.D. = 0.02) และตามความเห็นของครูโดยรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ( X = 4.87, S.D. = 0.06) เช่นกัน
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(X = 4.87, S.D. = 0.03)
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า 1) กิจกรรมที่ดำเนินการโครงการ โดยรวมทุกกิจกรรมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.90, S.D. = 0.21) 2) ความเหมาะสม ของกระบวนการในการดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X =477, S.D. = 0.07) และ 3) มีการติดตามการปฏิบัติกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ 100
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ จำแนกผลการประเมิน ได้ดังนี้
4.1 คุณธรรมเพื่อพัฒนาตน หลังดำเนินโครงการ พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรม คุณธรรมจริยธรรม ด้านรักสะอาด ความสนใจใฝ่รู้ ความเชื่อมั่นในตนเอง การพึ่งตนเอง การรักษาศีล 5 หรือหลักธรรมพื้นฐานของศาสนาที่ตนนับถือ และการหลีกเลี่ยงอบายมุข โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.05 จากเดิม)
4.2 คุณธรรมเพื่อพัฒนาการทำงาน หลังดำเนินโครงการ พบว่า นักเรียน มีพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม ด้านความอุตสาหะ ความประหยัด ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต และความมีน้ำใจ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.09 จากเดิม)
4.3 คุณธรรมเพื่อพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม หลังดำเนินโครงการ พบว่า นักเรียน มีพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมด้านความกตัญญู ความเสียสละ ความสามัคคี ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความเป็นประชาธิปไตย และจิตสาธารณะ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 จากเดิม)
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( X = 4.83, S.D. = 0.06) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม (X= นักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.77, S.D. = 0.02) ความพึงพอใจของผู้นำชุมชนที่มีต่อ พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.84, S.D. = 0.18) ความพึง พอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.80, S.D. = 0.18) และความพึงพอใจของครูที่มีต่อพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.76, S.D. = 0.18)