การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการบริหาร
ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ผู้้ศึกษาค้นคว้า นางปุณยวีร์ จิตศรัทธา
โรงเรียน บ้านอาจสามารถ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ (R1 ระยะที่ 1) โดยการศึกษาวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร รวมถึงผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาสังเคราะห์กำหนดองค์ประกอบกรอบแนวคิดในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบการบริหารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามเพื่อทำการวิเคราะห์และจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNI_modified) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำนวน 69 คน การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณจากสูตรเพื่อคำนวณหาระดับความเชื่อมั่น .99 จากประชากรที่ทราบจำนวน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 69 คน ใช้หลักการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (D1 ระยะที่ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ ขั้นตอนที่ 4 ยกร่างพัฒนารูปแบบการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสอบรูปแบบทั้งด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ก่อนนำรูปแบบไปใช้จริง ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ (R2&D2 ระยะที่ 3) โดยการนำรูปแบบมาทดลองใช้ในภาคสนามกับกลุ่มทดลองศูนย์เครือข่ายโรงเรียนมิตรสัมพันธ์ และกลุ่มเป้าหมายโรงเรียนบ้านอาจสามารถ ขั้นตอน
ข
ที่ 7 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ เพื่อให้รูปแบบมีความสมบูรณ์ถูกต้องที่สุด สถิติที่ใช้ ได้แก่สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า
1.องค์ประกอบของการบริหารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดองค์กรเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม(Organizational management for innovation)
2. สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมของการบริหารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาองค์ประกอบในแต่ละด้าน พบว่า ระดับสภาพของปัจจุบันอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง โดยองค์ประกอบ ที่มีค่าเฉลี่ยโดยรวมสภาพปัจจุบันสูงสุด ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม รองลงมา ได้แก่ การวัดและประเมินผลการสร้างสรรค์นวัตกรรม ตามลำดับ และองค์ประกอบที่มีที่มีค่าเฉลี่ยโดยรวมสภาพของปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ การส่งเสริมทักษะเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม
3. สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมของการบริหารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาองค์ประกอบในแต่ละด้าน พบว่า ระดับสภาพที่พึงประสงค์ทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง โดยองค์ประกอบที่มีสภาพที่พึงประสงค์สูงสุด ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม รองลงมาได้แก่ การจัดองค์กรเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ตามลำดับ และองค์ประกอบที่มีสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับที่ต่ำสุด ได้แก่ การวัดและประเมินผลการสร้างสรรค์นวัตกรรม
4. การประเมินค่าดัชนีความต้องการจำเป็นโดยภาพรวมของการบริหารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ พบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ การวัดและประเมินผลการสร้างสรรค์นวัตกรรม รองลงมา ได้แก่ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ การจัดองค์กรเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม
5. ผลการตรวจสอบการพัฒนารูปแบบตามมาตรฐาน 4 ด้าน คือ ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รายการที่สูงสุด ได้แก่ ลักษณะของรูปแบบ รองลงมา ได้แก่ การดำเนินการตามรูปแบบการบริหารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ชื่อของรูปและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ตามลำดับ ส่วนรายการที่อยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ หลักการและแนวคิดพื้นฐาน
6. ผลการนำรูปแบบไปใช้ลงสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ ทำให้เกิดการตื่นตัวมีความตระหนักคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้น ทั้งด้านการบริหารจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน และด้านคุณภาพผู้เรียน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง