LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง    รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ด้วยหลักการบริหารจัดการขยะ 3Rs ของโรงเรียนบ้านสันทราย
หน่วยงาน    โรงเรียนบ้านสันทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ผู้รายงาน    สุภาภรณ์ ธรรมสอน
ปีการศึกษา    2564


        รายงานผลการการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ด้วยหลักการบริหารจัดการขยะ 3Rs ของโรงเรียนบ้านสันทราย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการด้านบริบท (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs evaluation) ด้านกระบวนการ (Process evaluation) ด้านผลผลิต (Products evaluation) และส่วนปรับขยายด้านผลผลิต ได้แก่ การประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) การประเมินด้านประสิทธิภาพ (Effectiveness Evaluation) การประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability evaluation) โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ (CIPPIEST MODEL) ประชากรที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวนทั้งสิ้น 49 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน (ยกเว้นผู้ประเมินโครงการ) ครูและบุคลากร จำนวน 34 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ยกเว้นกรรมการที่เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้แทนครู) จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการด้านบริบท (Context evaluation) แบบสอบถามฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs evaluation) แบบสอบถามฉบับที่ 3 แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process evaluation) และ แบบสอบถามฉบับที่ 4 แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการด้านผลผลิต (Products evaluation) และการประเมินส่วนปรับขยายด้านผลผลิต ประกอบด้วย ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิภาพ (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และ ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability evaluation) แบบสอบถามทั้ง 4 ฉบับ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

    ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
            ผู้ตอบแบบสอบถาม ฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 4 เพื่อประเมินโครงการด้านบริบท (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs evaluation) และด้านผลผลิต (Products evaluation) และการประเมินส่วนปรับขยายด้านผลผลิต ตามลำดับ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 49 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 55.1 รองลงมา คือ เพศชาย จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 44.9 และ แบบสอบถามฉบับที่ 3 เพื่อประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process evaluation) ผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย ครู บุคลากร จำนวน 34 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 58.8 รองลงมา คือ เพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 41.2
     ตอนที่ 2 ผลการประเมินโครงการในแต่ละด้าน
     1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context evaluation) ตามความคิดเห็นของ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อโครงการ ด้านบริบท (Context evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนให้ครู บุคลากร และผู้เรียนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในโครงการ 2) วัตถุประสงค์ของโครงการ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม บริบทของโรงเรียน 3) โรงเรียนมีความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ, โรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ และ มีการกำหนดนโยบายหรือวิสัยทัศน์ ที่ร่วมหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ฯลฯ ตามลำดับ
         2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ความร่วมมือของครูและบุคลากรในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ 2) สถานที่สําหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ และ 3) จํานวนบุคลากรเพียงพอสําหรับการดําเนินโครงการ ตามลำดับ
     3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process evaluation) ตามความคิดเห็นของ ครูและบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA ในการกำหนดขั้นตอนในการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และสร้างวินัยในการจัดการขยะ 2) กิจกรรมคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โดยใช้หลักการ 3Rs 3) กิจกรรมธนาคารขยะสร้างรายได้ และ 4) กิจกรรมขยะรีไซเคิล ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) มีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ และมีการจัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับวินัย ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อส่วนรวม 2) มีการส่งเสริมและให้ความรู้การจัดการขยะ ให้กับผู้เรียน ครูและบุคลากร โดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและการให้ความรู้หน้าเสาธง และการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับผู้เรียนและบุคลากรภายในโรงเรียน และ 3) การนำผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการดำเนินโครงการเสนอต่อผู้บริหารสำหรับใช้ในการทบทวนปรับปรุงโครงการในครั้งต่อไป
     4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products evaluation) และส่วนปรับขยายด้านผลผลิต             
            ผลการประเมินด้านผลผลิต (Products evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีโดยใช้หลัก 3 Rs 2) ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และ 3) ครูและบุคลากรตระหนึกถึงความสำคัญของการลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและห้องเรียน และบริเวณโรงเรียนมีความสะอาดมากขึ้น มีปริมาณขยะมูลฝอยลดลง หลังจากการดำเนินกิจกรรม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ตามลำดับ
     4.1 ผลการประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ผู้เรียนสามารถคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีก่อนทิ้งอย่างถูกวิธี 2) ผู้เรียน ครูและบุคลากร มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง การลดขยะ การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ และ ผู้เรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะก่อนทิ้งโดยใช้หลักการ 3 Rs ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และ 3) กิจกรรมในโครงการทำให้ผู้เรียน ครูและบุคลากร เกิดจิตสำนึก มีความตระหนักและเห็นคุณค่าของการรักษาสิ่งแวดล้อม
     4.2 ผลการประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) โครงการโรงเรียนปลอดขยะทำให้ผู้เรียน ครูและบุคลากรเกิดจิตสำนึก มีความตระหนักและเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 2) ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการขยะก่อนทิ้ง และ 3) ผู้เรียนได้รับประโยชน์ตามหลักวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามลำดับ
         4.3 ผลการประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) โครงการควรมีการดำเนินอย่างต่อเนื่องในระยะยาว มีการกำหนด ผู้รับผิดชอบ คณะตั้งคณะทำงาน และกิจกรรมที่สื่อถึงความยั่งยืนของการดำเนินงาน 2) ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนปลอดขยะอย่างเป็นรูปธรรม 3) ส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์หรือการสร้างรายได้จากขยะภายในโรงเรียน และ เกิดการสร้างเครือข่ายร่วมกันระหว่างโรงเรียน และชุมชน ในการขับเคลื่อนโรงเรียนปลอดขยะ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ตามลำดับ
         4.4 ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportation Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ คือ 1) มีการเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่นการจัดนิทรรศการ แผ่นพับ สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายประชาสัมพันธ์ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน 2) มีแผนการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) อย่างเป็นรูปธรรมให้สถานศึกษาอื่นเพื่อนำไปศึกษาเทียบเคียง และมีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับโรงเรียนและชุมชน ให้มีกิจกรรมด้านการจัดการขยะมูลฝอย ตามหลัก 3Rs ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 3) โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตามลำดับ



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^