รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน
ผู้รายงาน นางสาวปิยชาติ ผูกจิตต์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตรัง กระบี่
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์
5 ลักษณะ โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ความเหมาะสมอาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน ติดตามกำกับและประเมินผลนำมาปรับปรุงและพัฒนา และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 4.1) คุณภาพการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์
ปีการศึกษา 2564 4.2) ความรับผิดชอบของนักเรียน โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ความรับผิดชอบต่อเพื่อน
ความรับผิดชอบต่อโรงเรียน และความรับผิดชอบต่อหน้าที่พลเมือง 4.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์
ปีการศึกษา 2564 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 48 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 274 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 274 คน
และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ(Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้โปรแกรม SPSS Version 18 ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง .928 - .979
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยประเมินใน 4 ประเด็น คือ ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการก่อนการดำเนินโครงการโดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมินพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์
ที่กำหนด โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 3.96, S.D. = .86) อยู่ในระดับมาก และรองลงมาได้แก่กลุ่มครู ( = 3.85, S.D. = .71) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของครูโดยประเมินใน 5 ประเด็น คือ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ก่อนการดำเนินโครงการโดยภาพรวม พบว่า
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75, S.D. = .68) ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ค่าน้ำหนัก
ร้อยละ 15 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยประเมินใน 4 ประเด็น คือ การวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุง ประเมินระหว่างการดำเนินการ โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านกระบวนการของโครงการ ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 20 ผลการประเมิน
เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.90, S.D. = .72) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.78, S.D. = .60) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 3.70, S.D. = .66) อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 ระดับคุณภาพการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์
5 ลักษณะ โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ปีการศึกษา 2564 ค่าน้ำหนัก ร้อยละ10 ผลการประเมิน
เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.92, S.D. = .67) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู ( = 3.75, S.D. = .68) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.70, S.D. = .67) อยู่ในระดับมาก
4.2 ความรับผิดชอบของนักเรียน โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ปีการศึกษา 2564
ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง
ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว ด้านความรับผิดชอบต่อเพื่อน ด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียน และด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่พลเมือง โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์
การประเมิน สรุปผลการประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความรับผิดชอบของนักเรียน โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 20 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวม และ ทุกประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.73, S.D. = .65) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครอง
( =3.66, S.D. = .64) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เช่นกัน
4.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนรัษฎานุ-ประดิษฐ์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ค่าน้ำหนัก ร้อยละ10 ผลการประเมินคุณภาพเมื่อเทียบกับเกณฑ์
ที่กำหนด พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 95.82 ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
โดยคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงสุด ร้อยละ 98.24 รองลงมาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ร้อยละ 97.66 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ใฝ่เรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 92.31
4.4 ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมิน ตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนักและเกณฑ์
การประเมินพบว่าด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะโรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 10 ผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.96, S.D. = .75) อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ กลุ่มนักเรียน( = 3.76, S.D. = .68) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง
มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.68, S.D. = .62 ) อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการที่ได้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนากระบวนการดำเนินงาน โดยปรับปรุงกิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำ และส่งเสริมกิจกรรมที่อยู่ระดับดีให้ดียิ่งขึ้น
1.2 ผู้บริหาร และครู ควรมีวางแผนการดำเนินงานโครงการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนต่อไป
1.3 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการรายงานหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเผยแพร่อย่างวงกว้าง และสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน อย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการที่มีลักษณะองค์รวมโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) และควรมีการประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบอื่นๆ
2.2 ควรศึกษารูปแบบการพัฒนาการบริหารที่เสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียน
โดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางการนำกระบวนการสู่การปฏิบัติ
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้
การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา