การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านบางสะพานน้อย อำเภ
อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ผู้วิจัย นางสุกัญญา ปัตเมฆ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
ปีที่จัดทำ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุของปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ใช้พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยนวัตกรรมที่สร้างขึ้น การวิจัยดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 การศึกษาหาสาเหตุของปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ครู 22 คน นักเรียน 25 คน ผู้ปกครองนักเรียน 30 คน กรรมการสถานศึกษา 13 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 4 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99, 0.95, 0.96 และ 0.95 เก็บข้อมูลโดยประชุมสร้างความเข้าใจก่อนตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้แก่ การวางแผนในการจัดทำข้อมูล ด้านการคัดกรองนักเรียน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจของครูในการแบ่งกลุ่มและการ คัดกรองอย่างมีระบบ ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน ได้แก่ การวางแผนเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในการให้คำปรึกษา และการประชุมผู้ปกครอง ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์ การให้คำปรึกษา การส่งเสริมสนับสนุนป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการส่งต่อ ได้แก่ การวางแผนวิธีการและขั้นตอนในการส่งต่อนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญ
ระยะที่ 2 การสร้างนวัตกรรมที่ใช้พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครู ผู้ปกครองนักเรียนกรรมการสถาน ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูแนะแนวโรงเรียนแกนนำ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล นวัตกรรมที่ใช้พัฒนา ประกอบด้วย โครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน และโครงการประชุมครูเรื่องการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ระยะที่ 3 การศึกษาผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยนวัตกรรมที่สร้างขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ครู 22 คน นักเรียน 154 คน ผู้ปกครองนักเรียน 60 คน และกรรมการสถานศึกษา 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยมแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99, 0.96, 0.97 และ 0.95 ตามลำดับ และแบบบันทึกจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมที่ใช้ ในการพัฒนาทำให้ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหามีจำนวนลดลงลดลง