การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านในเขียว 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวสาวิตรี สีขาว
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนบ้านในเขียว 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPเModel)เประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเ1) ประเมินบริบท (ContextเEvaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา วัตถุประสงค์และการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2)เประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการของโรงเรียน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การจัดโครงสร้างองค์กร คุณลักษณะของบุคลากร งบประมาณและทรัพยากรและวัฒนธรรมการทำงานในโรงเรียน 3)เประเมินกระบวนการ (ProcessเEvaluation) เกี่ยวกับการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การประเมินและตรวจสอบคุณภาพ การติดตามผลการดำเนินงาน การรายงานผลการประเมินตนเอง การนำผลการประเมินมาใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการรักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการบริหารจัดการ และคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านในเขียว 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 42 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (PurposiveเRandom Sampling) จำนวน 30 คน โดยศึกษาจากครูผู้สอน จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 18 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบทและปัจจัยนำเข้า ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ มีข้อคำถามเจำนวนเ89เข้อเค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ จำนวน 8 ตัวชี้วัด ข้อคำถามเจำนวนเ60เข้อเมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับเ0.93 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ มีจำนวน 3 ตัวชี้วัด มีข้อคำถาม จำนวน 55 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ประเมินโดยครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0 ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษามีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือวัตถุประสงค์ของโครงการ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านการจัดโครงสร้างองค์กร มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ระบบบริหารจัดการของโรงเรียน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านคุณลักษณะของบุคลากร ด้านวัฒนธรรมการทำงานในโรงเรียน และด้านงบประมาณและทรัพยากร ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 8 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การกำหนดมาตรฐานการศึกษา มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การรายงานผลการประเมินตนเอง การประเมินและตรวจสอบคุณภาพ การนำผลการประเมินมาใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การติดตามผลการดำเนินงาน การรักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนบ้านในเขียว 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านคุณภาพนักเรียน ตามลำดับ