การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
(อรรถกิจวิทยาคาร) ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
ผู้ประเมิน นางสาวปวันกร เรื่อศรีจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร)
ปีที่ทำการประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 3) เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 4) เพื่อประเมินผลผลิตของการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้รูปแบบจำลองปรับประยุกต์แบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม (Stufflebeam)
ประชากร ที่ใช้ในการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองโว้ง
(อรรถกิจวิทยาคาร) ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน จากโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ในปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 43 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์มาตราส่วนแบบประมาณค่า ในแต่ละระดับความคิดเห็น 5 ระดับ คือ ระดับที่ 5 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับมากที่สุด ระดับที่ 4 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับมาก ระดับที่ 3 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับ ปานกลาง ระดับที่ 2 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับน้อยระดับที่ 1 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับน้อยที่สุดสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านกระบวนการ รองลงมาคือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านสภาวะแวดล้อมและ ด้านผลผลิต ตามลำดับ
2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงสุด คือ โครงการมีความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุดมี 3 ข้อ คือ โครงการมีความเหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ของโรงเรียน โครงการความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพของชุมชน
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงสุด มี 3 ข้อ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำชุมชนให้การสนับสนุนและเป็นผู้นำโครงการ ระบบการบริหารภายในโรงเรียนเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรม และ คณะกรรมการโครงการเป็นผู้มีความสนใจ มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม และข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุด มี 2 ข้อ คือวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ มีเพียงพอ มีคุณภาพและวิทยากร มีความรู้ และ ความสามารถเหมาะสม
4. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านกระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงสุด มี 4 ข้อ คือ การประชุมวางแผนการดำเนินงานการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานชัดเจน การปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอน ความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องของโครงการ และข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ ความร่วมมือของคณะทำงานตามโครงการ
5. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการวิเคราะห์พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงสุด คือ นักเรียนรู้จักแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย และข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือนักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความเต็มใจ และเต็มกำลังความสามารถ และ ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของบุคลากรในชุมชนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียน ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงสุด คือนักเรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุด มี 2 ข้อ คือการนำกิจกรรมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน และนักเรียนมีความรักเคารพและเชื่อฟังพ่อแม่