ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ บทเรียนออนไลน์ ป.5
วิจัยชื่อ: ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์
เรื่อง ประเภทและชนิดของเครื่องดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย: นางสาวอรวรรณ คล้ายบุญแย้ม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวัดสัก (จันทร์ศิริจำเริญประชาสรรค์) อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย: 2564
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการรายงานผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ประเภทและชนิดของเครื่องดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การพัฒนาครั้งนี้มีความความมุ่งหมายของการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ประเภทและชนิดของเครื่องดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ได้ตามเกณฑ์ ประสิทธิภาพที่กำหนด 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประเภทและชนิดของเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ระหว่าง ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์ และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ประเภทและชนิดของเครื่องดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสัก (จันทร์ศิริจำเริญประชาสรรค์) อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ 4 ชนิด ดังนี้ 1) บทเรียนออนไลน์ จำนวน 4 หน่วย 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์ จำนวน 12 ชั่วโมง 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 4)แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าทร
ผลการวิจัย พบว่า
1. การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ประเภทและชนิดของเครื่องดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.29/81.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประเภทและชนิดของเครื่องดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนเท่ากับ 0.6780 คิดเป็นร้อยละ 67.80
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ประเภทและชนิดของเครื่องดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar=4.22, S.D=0.78)